วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

งานแปลนวนิยาย

อลาดินกับตะเกียงวิเศษ
บทที่ 1 ความช่วยเหลือจากคนรวยคนหนึ่ง
หลายปีที่ผ่านมา เมืองในประเทศอาระเบีย ที่นั่นมีเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่เรียกว่า อลาดิน เขาอาศัยอยุ่กับแม่ของเขาในบ้านหลังเล็กใกล้กับตลาด พวกเขามีฐานะยากจนมาก แม่ของอลาดินทำงานตลอดทั้งวันและบางครั้งก็ครึ่งคืน แต่อลาดินไม่เคยช่วยหล่อนเลย
เขาเป็นเด็กขี้เกียจและเขาไม่ชอบทำงาน เขาต้องการเพียงเล่นตลอดเวลา ทุก ๆ เช้าเขาวิ่งไปตลาด เขาพูด หัวเราะ และเล่นกับเพื่อนของเขาตลอดทั้งวัน จากนั้นในตอนเย็นเขากลับบ้านเพื่ออาหารมื้อเย็นของเขา
และทุก ๆ คืนแม่ของเขาพูดว่า โอ้, อลาดิน อลาดิน! คุณเป็นเด็กขี้เกียจ ไม่มีอะไรดีเลย เมื่อคุณไปทำงาน, ลูกชายของฉัน ?
แต่อลาดินไม่เคยฟังแม่ของเขา
วันหนึ่งในตลาดมีชายแก่ในเสื้อคลุมยาวสีดำ อลาดินไม่เห็นเขา แต่ชายแก่มองอลาดินอย่างระมัดระวัง หฃังจากนั้นไม่กี่นาทีเขาไปที่คนขายส้มและถามว่า
เขาคือใคร ? เด็กผู้ชายในเสื้อคลุมสีเขียวนั้น
อลาดิน ลูกชายของมัสตฟานั่นคือคำตอบ
ชายแก่เคลื่อนออกไป ใช่เขาพูดอย่างเงียบ ๆ ใช่ เด็กผู้ชายคนนั้น ชื่อถูกและชื่อของพ่อก็ถูก

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log อบรม 4

Learning Log
การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
วันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (ภาคบ่าย)
ยุทธวิธีของการสอนในศตวรรษที่ 21 นั้นมีอยู่อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนภาษาอังกฤษจากสิ่งรอบตัว การเล่นเกมเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความมีระเบียบวินัย การบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดประโยชน์ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม การสอนโดยการเล่านิทาน การใช้เพลง การวาดภาพ การแสดงบทบาทสมมุติ หรือการท่องคำคล้องจอง เป็นต้น ซึ่งยุทธวิธีการสอนเหล่านี้เป็นทางเลือกให้กับผู้ที่เข้ารับการอบรมได้ เพราะในแต่ละยุทธวิธีเป็นการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและได้ใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริงควบคู่ไปด้วย

Learning Log อบรม 3

Learning Log
การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
วันศุกร์ ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (ภาคเช้า)
ในปัจจุบันการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีความสำคัญและมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก เพราะในหลายประเทศนั้นภาษาอังกฤษจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ หรือแม้แต่การนำภาษาอังกฤษมาใช้ในเทคโนโลยีสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นส่วนหนึ่งในประเทศเหล่านั้นที่ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก โดยการพัฒนาภาษาอังกฤษให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องเกิดจากตัวผู้เรียนเป็นสำคัญและควบคู่ไปกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เพราะหากผู้สอนมีวิธีการสอนภาษาอังกฤษที่เหมาะสมและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นจะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ผู้สอนก็ยังสามารถนำสื่อที่ทันสมัยมาปรับใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้หลากหลายขึ้นและยังสอดคล้องกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย
               

Leaning Log อบรม 2

Leaning Log
การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคบ่าย)
การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพด้วยกระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรม การสืบสานวัฒนธรรม ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต ปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันที่ผู้เรียนให้ความสำคัญคือ การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารระหว่างกัน เมื่อมีการสื่อสารเกิดขึ้น ภาษาก็จะมีความหลากหลายมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นภาษาที่เกิดจากการดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้รูปแบบของแต่ละภาษาผิดเพี้ยนไปจากเดิมได้

Learning Log อบรม 1

Learning Log
การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2558 (ภาคเช้า)
ในปัจจุบันภาษาอังกฤษนับว่าเป็นภาษาหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสื่อสารและการศึกษาเรียนรู้ การศึกษาไทยจึงได้พัฒนาภาษาอังกฤษให้มีบทบาทมากขึ้นโดยการเพิ่มเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการปฏิบัติจริง ยิ่งไปกว่านั้นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษจะต้องมีประสิทธิภาพ เนื่องจากในศตวรรษที่ 21 เป็นยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี  ด้านภาษา ด้านการสื่อสาร  และด้านอื่น ๆ ซึ่งด้านต่าง ๆ เหล่านี้มีบทบาทในการดำรงชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น ทำให้สถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมักจะจัดการอบรมภาษาอังกฤษในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อชี้แนวทางให้กับบุคคลที่ได้รับการอบรมนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนได้ และที่สำคัญครูในศตวรรษที่ 21 จะต้องจัดการเรียนการสอนและมีวิธีการสอนที่สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่าง ๆ ในศตวรรษที่ 21

Learning Log 12 นอกห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 12
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
การเรียนภาษาอังกฤษที่ดีอีกวิธีหนึ่งที่ดิฉันฝึกฝนคือการเรียนจากเพลง เพราะนอกจากจะทำให้ดิฉันรู้สึกผ่อนคลายจากการฟังแล้ว  ดิฉันยังได้เรียนรู้สำนวนและความหมายที่ซ่อนอยู่ในเพลง  อีกทั้งจะได้อรรถรสของเพลงและเข้าใจความหมายของเพลงนั้น ๆ อย่างลึกซึ้ง เพราะหากเราได้เข้าใจเพลงอย่างแจ่มแจ้ง เราจะสามารถรับรู้ถึงความรู้สึกของเพลงแต่ละเพลงได้และทำให้เรามีความรู้สึกร่วมกับเพลงเหล่านั้นได้อีกด้วย และหากดิฉันได้ฟังเพลงเป็นประจำ ดิฉันก็จะฟังเข้าใจและพัฒนาตัวเองได้มากยิ่งขึ้น  และมีอีกสิ่งหนึ่งที่ดิฉันให้ความสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษคือ สำนวน (Idiom) เพราะสามารถช่วยให้เราสามารถใช้ภาษาในสถานการณ์จริงได้อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนกับเจ้าของภาษา

Learning Log 10 นอกห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 10
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
การสื่อสารในชีวิตประจำวันมักจะใช้คำหรือประโยคในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในการอยู่ร่วมกันในสังคม เมื่อมีการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำให้ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากขึ้นจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ทั้งคำศัพท์ หลักไวยากรณ์ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกให้มากขึ้น และเมื่อดิฉันจะเป็นครูภาษาอังกฤษ ดิฉันจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน และหากดิฉันรู้คำศัพท์มาก ดิฉันก็จะสามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนสิ่งต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง และทำให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษกลายเป็นเรื่องง่าย

Learning Log 11 นอกห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 11
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
            การเรียนรู้นอกห้องเรียนสามารถเรียนรู้ได้หลายวิธีแล้วแต่ความสนใจและความถนัดของแต่ละคน หากมีการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ สมองก็จะได้รับการพัฒนาอยู่ตลอดเวลารวมไปถึงเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับตนเองอีกด้วย โดยการเรียนรู้นอกห้องเรียนดิฉันได้ศึกษาเรื่อง คำศัพท์เป็นการศึกษาจากสันดานของศัพท์ว่า ศัพท์แต่ละตัวมีใบหน้า หัวใจ และบั้นท้ายตัวใดแล้วคำนั้นจะมีความหมายว่าอย่างไร และได้ศึกษา การพูดภาษาอังกฤษตามหลักภาษาศาสตร์โดยศึกษาภาคทฤษฎีให้เข้าใจก่อนแล้วค่อยลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นการฝึกทักษะการพูดได้อีกแบบหนึ่ง

Learning Log 9 ในห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 9
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
Clause หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุประโยค ซึ่งหมายถึง กลุ่มคำที่มีทั้งภาคประธานและภาคแสดง โดยอนุประโยคจะเป็นส่วนหนึ่งของประโยคด้วย อนุประโยคบางชนิดสามารถอยู่ได้โดยลำพัง เช่น ประโยคความซ้อนหรือ simple sentence และในบางอนุประโยคก็ยังสามารถละคำบางคำในอนุประโยคนั้น ๆ ได้อีกด้วย เช่น The officer said, “Stop”. จากตัวอย่างประโยคนี้ทำให้ดิฉันเห็นว่า ประโยคดังกล่าวได้มีการละประธานคือคำว่า you จากการกล่าวถึง clause ข้างต้นนี้จะมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้ในห้องเรียน เพราะสิ่งที่ดิฉันเรียนคือเรื่อง adverb clause ซึ่งclause ที่กล่าวมานั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของ adverb clause และยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 clause คือ noun clause, adjective clause, และ adverb clause

Learning Log 9 นอกห้องเรียน

                                                                  Learning Log
                                                                        ครั้งที่ 9
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
ทักษะด้านการฟัง การพูด การเขียน และการอ่าน เป็นทักษะพื้นฐานของทุกคนที่ควรจะต้องพัฒนา เพื่อให้มีความสามารถในการสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งทักษะการฟังเป็นทักษะที่มีความสำคัญมาก การฟังจะต้องใช้สมาธิ หลายคนไม่มีทักษะการฟัง ไม่เคยฟังผู้อื่นจึงมักเกิดปัญหา ดังนั้นจำเป็นต้องฝึกฟังและฟังให้มีประสิทธิภาพเพื่อเกิดความเข้าใจต่อกัน ทักษะการพูด ควรมีศิลปะในการพูด ถ่ายทอดและสื่อความให้ผู้อื่นเข้าใจ ทักษะการเขียนเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร และทักษะการอ่านก็จำเป็นต้องฝึกเช่นกัน อ่านแล้วสรุปความได้ ฝึกฝนจนเป็นคนรักการอ่าน และที่สำคัญทักษะทั้ง 4 ด้านนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ดิฉันพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษได้
               

Learning Log 8 ในห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 8
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
ประโยคในภาษาอังกฤษนั้นมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นประโยคความเดียว ประโยคความซ้อน ประโยคความรวม หรือประโยคความผสม เป็นต้น ซึ่งประโยคแต่ละประเภทสามารถแยกย่อยได้อีก เช่น ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีประโยคหลักเพียงประโยคเดียวและมีอนุประโยคตั้งแต่ 1 ประโยคขึ้นไปโดยจะเชื่อมด้วยคำสันธาน ประโยคความซ้อนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ Noun Clause, Adjective Clause และ Adverb Clause โดยแต่ละอนุประโยคจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป

Learning Log 8 นอกห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 8
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เกี่ยวข้องกับทักษะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการฟัง การพูด  การอ่าน  และการเขียน ซึ่งหากทั้ง 4 ทักษะที่กล่าวมาได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะทำให้มีความสามารถในการสื่อสารทางด้านภาษาอังกฤษมากขึ้นและสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่ว สำหรับดิฉันมีความจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนทั้ง 4 ทักษะนี้อย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อดิฉันเป็นครู ดิฉันต้องพูด เขียน และอ่านอย่างถูกต้องและแม่นยำ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการสอน ดิฉันจึงฝึกทักษะการฟังและการอ่านจากหนังเรื่อง Maleficent , และฝึกทักษะการพูดและการเขียนด้วยการศึกษาคำศัพท์จากหนังสือ รู้ทันสันดานศัพท์  และศึกษาหลักไวยากรณ์เรื่อง กริยาช่วย (Modals, Auxiliary Verbs, Helping Verbs) ” และได้ค้นคว้าเพิ่มเติมในเรื่อง เคล็ดลับสำหรับการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่เพิ่มทุกวัน

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 7 ในห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 7
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
ในปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีความสำคัญและเป็นภาษากลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับประเทศต่างๆยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการเปิดสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) อย่างเสรีทำให้ประเทศสมาชิกสามารถเดินทางไปยังประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง ในการพูดภาษาอังกฤษ หากพูดผิดหลักไวยากรณ์ก็ยังนับว่าสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้ แต่หากผู้พูดไม่รู้คำศัพท์และความหมายก็จะไม่สามารถสื่อสารได้และการแปลความหมายของประโยคก็มีความสำคัญในการสื่อสาร ดิฉันจึงทำการทดสอบความรู้ของตนเองด้วย www.vocabularysize.com และเรียนรู้แต่ละประเภทของ If-Clauses

Learning Log 7 นอกห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 7
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
ถึงแม้ว่าการพูดภาษาอังกฤษอาจจะไม่ต้องคำนึงถึงหลักไวยากรณ์มากนัก แต่หลักในการใช้ภาษาและการเขียนโครงสร้างของประโยคภาษาอังกฤษที่ถูกต้องก็ยังมีความสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะในการเขียน ไม่ว่าจะการเขียนจดหมายราชการ การเขียนรายงาน ข่าวสารที่สำคัญ ๆ เป็นต้น หากเขียนโครงสร้างของประโยคไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดการแปลความหมายและการสื่อสารที่ผิดพลาดได้ เช่น  คำนำหน้านามหรือ Article คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพราะอาจจะเห็นว่าเป็นเพียงเรื่องเล็ก จะเขียนหรือไม่เขียนก็ได้ แต่ดิฉันเห็นว่า คำนำหน้านามหรือ Article นั้นมีความสำคัญในการเขียนประโยค เพราะเพียงแค่จุดเล็กจุดนี้ก็สามารถทำให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ได้

Learning Log 6 นอกห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 6
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
อาการหรือถ้อยคำที่คนคนหนึ่งแสดงให้อีกคนหนึ่งทราบความหมายของตนนั้นเรียกว่า ภาษาในภาษาสันสกฤตคำนี้แต่เดิมหมายถึง คำพูดแต่ในปัจจุบันความหมายของคำนี้ได้ขยายออกอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการแสดงกิริยาอาการด้วยกาย เพื่อต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบถึงความต้องการของตนก็เรียกว่าเป็นภาษาได้ เมื่อมนุษย์ต้องติดต่อสื่อสารกันก็เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีภาษาและมีวิธีการสื่อสารระหว่างกัน เมื่อมีการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มมนุษย์จะต้องใช้ภาษาสำหรับสื่อสารเชิงสังคม ใช้ในการถ่ายทอดศิลปะวิทยาการและความรู้ ความคิด ที่สามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจ  โดยภาษานั้นจะมีคำอยู่ 2 คำที่ทำให้เห็นภาพของภาษาได้ชัดขึ้นคือ  จักษุภาษา หมายถึง ภาษารับด้วยตา, คู่กับ โสตภาษาหมายถึง ภาษารับด้วยหู

Learning Log 6 ในห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 6
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
ประโยค (Sentences) หมายถึง กลุ่มคำหรือข้อความที่กล่าวออกมาแล้วมีใจความสมบูรณ์ ประโยคจะประกอบด้วยส่วนใหญ่ 2 ส่วน คือ ภาคประธาน (Subject) และภาคแสดง (Predicate) โดยประโยคนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ Simple Sentence (ประโยคความเดียว), Compound Sentence (ประโยคความรวม), Complex  Sentence (ประโยคความซ้อน), และ Compound-Complex  Sentence (ประโยคความผสม) ซึ่งแต่ละประเภทของประโยคต่าง ๆ นั้นสามารถแยกย่อยได้อีกหลายรูปแบบ ในที่นี้ดิฉันจะขออธิบายเกี่ยวกับ Complex  Sentence (ประโยคความซ้อน) ที่สามารถแบ่งย่อยได้ 3 ชนิด แต่ดิฉันจะขออธิบายเพิ่มเติมเพียง Adjective Clause (คุณานุประโยค)

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 5 นอกห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 5
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
ในปัจจุบันภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาที่มีความสำคัญมาก คนรุ่นใหม่มักจะมีการศึกษาวิชาภาษาอังกฤษทั้งในและนอกชั้นเรียนกันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้อย่างเข้าใจ  โดยวิชาภาษาอังกฤษนั้นมีพื้นฐานทางภาษา ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ  ซึ่งได้แก่ การรู้จักส่วนของคำพูด (Part of Speech) , การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์และคำคุณศัพท์ (Comparison) , กาล (Tense) , คำบ่งชี้ (Determiner) ,  ประโยคคำถาม (Question Sentence) , Direct & Indirect Speech , ประโยคเงื่อนไข (If-Sentence) , และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ในที่นี้ดิฉันจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Active & Passive Voice เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning Log 4

Learning Log
ครั้งที่ 4
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน คือการหาความรู้เพิ่มเติม โดยฝึกการอ่านและการคิดวิเคราะห์ จากหนังสือ ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (Understanding Language to Translate : from theories to practice)” ซึ่งเนื้อหาในหนังสือจะเกี่ยวกับ ความรู้ทางทฤษฎีที่ใช้ได้กับการแปลและเสนอแนวทางในการปฏิบัติโดยใช้ทฤษฎีเป็นหลัก  ซึ่งเป็นการประมวลจากทฤษฎีภาษาศาสตร์ต่างๆ ของผู้เขียนที่เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับการแปล เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ตัวบทอย่างมีระบบและสามารถนำไปสังเคราะห์ใช้ในการตัดสินใจเมื่อต้องแก้ปัญหาในการแปล ตลอดจนเพื่อให้มีมุมมองที่หลากหลายในการแก้ปัญหา และสามารถถ่ายทอดความหมายจากการแปลออกมาเป็นรูปภาษาที่แตกต่างจากต้นฉบับ และยังคงความหมายเดิมของต้นฉบับ ซึ่งจะทำให้งานแปลมีลักษณะเป็นธรรมชาติ

Learning Log 3 นอกห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 3
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน คือ การฝึกอ่านและคิดวิเคราะห์ จากหนังสือ ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (Understanding Language to Translate : from theories to practice)” ซึ่งหัวข้อที่ดิฉันสนใจ คือ โครงสร้างทางไวยากรณ์และโครงสร้างทางความหมาย หัวข้อดังกล่าวมีความสำคัญต่อการแปลประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ เพราะหากดิฉันเข้าใจโครงสร้างทางไวยากรณ์ก็จะส่งผลให้ดิฉันเข้าถึงโครงสร้างทางความหมายของภาษาต้นฉบับมากขึ้น
การแปลนั้นจะประกอบด้วยสองส่วนคือ ส่วนรูปและส่วนความหมาย นั่นคือ กระบวนการแปลเกี่ยวข้องกับภาษาอย่างน้อยสองภาษา และความหมายหรือสาร (message) เช่น เมื่อเราต้องการบรรยายลักษณะของผลแอปเปิ้ลนั้น เราอาจทำได้โดยการพูดถึงสี รูปทรง ส่วนประกอบต่าง ๆ เป็นต้น และในการบรรยายภาษาหนึ่ง ๆ นั้นอาจทำได้โดยการพูดถึงเสียง ไวยากรณ์ และคำศัพท์ โดยที่ความหมายก็คือสารที่สื่อออกมาโดยใช้เสียง ไวยากรณ์ และคำศัพท์ ซึ่งก็คือรูปของภาษา

Learning Log 3 ในห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 3
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
การแปลประโยคควรเริ่มจากประโยคสั้น ๆ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการแปลอย่างง่ายและแปลได้ตรงตามความหมายของต้นฉบับ และอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการแปล คือ พื้นฐานทางไวยากรณ์ของนักแปล  ซึ่งพื้นฐานทางไวยากรณ์นั้นจะมีอิทธิพลอย่างมากในการแปล โดยเฉพาะกาลหรือ Tense เพราะรูปกริยาของแต่ละกาลนั้นสามารถบ่งบอกได้ว่า เหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นแล้วหรือยัง หรือกำลังเกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งหากเราเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของ Tense ในแต่ละ Tense อย่างแท้จริงแล้ว เราก็จะสามารถแปลประโยคออกมาได้อย่างง่ายดาย และทำให้งานแปลมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และมีความหมายสมบูรณ์  นั่นคือสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้ในห้องเรียน

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 2

Learning Log
ครั้งที่ 2
พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียนย่อมมีความสำคัญต่อครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน ผู้เรียนควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอว่า เมื่อเรียนไปแล้ว ผู้เรียนมีความรู้เพียงพอและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หรือไม่ อีกทั้งกระบวนการสอนของครูก็มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เพราะผู้สอนแต่ละคนจะมีกระบวนการสอนที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจหรือเจตคติต่อผู้สอนและรายวิชาที่แตกต่างกันออกไป นี่คือสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้ในห้องเรียน นอกจากการเรียนรู้ภายในห้องเรียนแล้ว ดิฉันได้เพิ่มเติมความรู้โดยการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยตนเอง ซึ่งการเรียนรู้นอกห้องเรียนของดิฉันเป็นการฝึกทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ จากบทความเรื่อง กลยุทธ์ในการเรียนภาษา ในบทความนี้จะกล่าวถึงกลยุทธ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยตัวผู้เรียนนั้นคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด

Learning Log 1

Learning Log
ครั้งที่ 1
สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในห้องเรียนจะเกี่ยวกับการเรียนรู้และการให้ข้อมูลอย่างเข้าใจ ซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับผู้สอนและผู้เรียนโดยตรง และหลักการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยอย่างไรให้ถูกต้องตามกาลเวลา เพื่อให้งานแปลนั้นมีใจความถูกต้องและกระชับมากที่สุด การเรียนรู้นอกห้องเรียนจะเกี่ยวกับการดูหนัง เพื่อเป็นการฝึกฟัง การเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ และฝึกการแปล
I + 1 = Comprehensible Input
I ในที่นี้หมายถึง Input จะเกี่ยวข้องกับผู้เรียนโดยตรง การจะให้ข้อมูลกับผู้เรียนจะต้องทราบก่อนว่าผู้เรียนนั้นมีพื้นฐานความรู้เดิมเป็นอย่างไร
1 หมายถึง ผู้สอน ผู้สอนจะต้องสอนเนื้อหาที่ยากกว่าในอีกระดับหนึ่งให้กับผู้เรียน

แปลประโยค

จงแปลประโยคต่อไปนี้เป็นภาษาไทย
1. First-year students have studied English for at least 10 years.
นักศึกษาปีหนึ่งเรียนภาษาอังกฤษมาแล้วอย่างน้อย 10 ปี
2. An accident took place when the plane was flying above a paddy field.
อุบัติเหตุหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินกำลังบินอยู่เหนือนาข้าว
3. The truck driver was unidentified.
คนขับรถบรรทุกไม่แสดงตน
4. Tomorrow I’ll go out of town.
พรุ่งนี้ฉันจะไปนอกเมือง

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล ความสำคัญของการแปล

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันภาษาอังกฤษมีความสำคัญมาก เพราะมีการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารอย่างกว้างขวาง เช่น ด้านการเรียน ด้านการท่องเที่ยว ด้านการค้าขาย ด้านการเมือง เป็นต้น เมื่อการติดต่อสื่อสารเจริญก้าวหน้าผู้คนก็จะติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น การแปลจึงยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะประเทศไทยมีการติดต่อกับประเทศต่างๆมากขึ้น บางครั้งการอาศัยผู้แปลนั้นก็เป็นการประหยัดเวลาและได้รับงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ผู้แปลจะต้องมีความตื่นตัวในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลในการเทียบเคียงความหมาย การเลือกใช้คำที่เหมาะสม ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าศัพท์เฉพาะในทุกสาขาวิชา และนอกเหนือจากความรู้แล้ว ผู้แปลจะต้องมีความสามารถในด้านภาษาต้นฉบับและที่แปลเป็นอย่างดีแล้วเพื่อถ่ายทอดงานแปลนั้นออกมาอย่างถูกต้องแม่นยำ

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
โครงสร้าง (Structure) เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา โครงสร้างเป็นสิ่งที่สามารถบอกเราว่า เราจะนำคำศัพท์มาเรียงกันอย่างไรจึงจะสื่อสารกันอย่างเข้าใจ  ในการแปล  ผู้แปลมักนึกถึงคำศัพท์  เช่น เมื่อแปลไทยเป็นอังกฤษก็จะพยายามค้นหาคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เทียบเท่ากับภาษาไทย แต่หากหาคำศัพท์นั้นไม่ได้ก็จะคิดว่ามีปัญหา แต่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เพราะปัญหาที่สำคัญคือ ปัญหาทางโครงสร้าง แม้ว่าผู้แปลจะรู้คำศัพท์ แต่ไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของคำศัพท์นั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้
1.              ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ (parts of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง เพราะการสร้างประโยคจะต้องคำนึงถึงชนิดของคำและประเภทของไวยากรณ์
ประเภททางไวยากรณ์ (grammatical category) หมายถึง ลักษณะสำคัญทางไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งจะสัมพันธ์กับชนิดของคำ ประเภททางไวยากรณ์ที่มีความสำคัญสำหรับการเทียบภาษาไทยกับภาษาอังกฤษมีดังนี้