วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 10 นอกห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 10
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
การสื่อสารในชีวิตประจำวันมักจะใช้คำหรือประโยคในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในการอยู่ร่วมกันในสังคม เมื่อมีการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำให้ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากขึ้นจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ทั้งคำศัพท์ หลักไวยากรณ์ รวมถึงวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกให้มากขึ้น และเมื่อดิฉันจะเป็นครูภาษาอังกฤษ ดิฉันจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน และหากดิฉันรู้คำศัพท์มาก ดิฉันก็จะสามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนสิ่งต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง และทำให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษกลายเป็นเรื่องง่าย
    สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียนในสัปดาห์นี้ ดิฉันได้เรียนรู้จากหนังสือ รู้ทันสันดานศัพท์เช่นเดิมซึ่งเป็นการต่อยอดเนื้อหาจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยในสัปดาห์นี้จะเรียนรู้อีกส่วนหนึ่งของคำศัพท์คือ ส่วนของ หัวใจ นอกจากนี้ดิฉันได้ศึกษาหลักไวยากรณ์เรื่อง “Part of Speech” คือศึกษาเรื่อง  Pronouns หรือคำสรรพนาม ซึ่งสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้นั้นเป็นความรู้ที่ใช้ควบคู่กันเสมอ เพราะเมื่อรู้คำศัพท์ว่าแต่ละคำเป็นคำชนิดใด มีความหมายว่าอย่างไร จะทำให้ดิฉันสามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง
คำศัพท์มีใบหน้า หัวใจ และบั้นท้าย สำหรับใบหน้าของคำศัพท์ดิฉันได้ศึกษาในสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนในสัปดาห์นี้ดิฉันได้ศึกษาส่วนที่สองของคำศัพท์ นั่นคือ ส่วนของหัวใจ  หัวใจศัพท์คือ แก่นของคำที่อุ้มความหมายหลักของคำศัพท์เอาไว้  ตรงส่วนของหัวใจนั้นสำคัญมาก หัวใจบางตัวเข้าใจง่าย เป็นหัวใจที่บอกความหมายตรงไปตรงมาอย่างเปิดเผย เมื่อรู้แล้วสามารถเอาไปใช้พูดและเขียนสื่อความหมายได้เลย แต่หัวใจของศัพท์บางตัวเป็นหัวใจที่ซ่อนเร้น หากต้องการรู้ความหมายต้องเจาะลึกลงไป และเมื่อรู้ว่าหัวใจของคำศัพท์เป็นอย่างไรจะทำให้การอ่านนิสัยหรือความหมายของคำศัพท์นั้นกลายเป็นเรื่องง่าย
เรียนรู้ความหมายศัพท์จากหัวใจ เชื่อคำว่า Cred เป็นหัวใจดวงหนึ่งของระบบศัพท์ ความหมายคือ เชื่อ” Cred ตัวนี้เป็นรากศัพท์ที่มาจากกริยาภาษาละตินว่า credere แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า to believe ตัวอย่างคำที่มีหัวใจมาจาก cred คำแรกคือ credit credit หมายถึง ความเชื่อถือหรือเกียรติที่เกิดจากความเชื่อใจในกันและกัน คนมีเครดิตมักจะได้รับ credit card จากธนาคาร บัตรเครดิตที่ได้รับนั้นสามารถใช้ซื้อของด้วยเงินเชื่อได้ยังไม่ต้องจ่ายเป็นเงินสด คำที่สองคือ creditor คือ เจ้าหนี้ ซึ่งบั้นท้าย or ที่อยู่ด้านหลังคือตัวที่บอกว่า creditor มีความหมายแทนตัวคนที่ให้เครดิต
สำหรับคำที่สามคือ discredit เป็นคำที่เกิดจากการเอาคำว่า credit มาใส่ใบหน้า dis ลงไปเพื่อสื่อความหมายในทางปฏิเสธ ดังนั้น discredit จึงมีความหมายว่า ทำลายความเชื่อถือหรือทำให้เสื่อมความไว้วางใจที่มีต่อกัน จาก discredit ที่ทำลายความน่าเชื่อถือหรือทำให้เสื่อมความไว้วางใจนั้นสามารถเชื่อมโยงคำตรงข้ามได้อีกหนึ่งคำคือ accredit โดย accredit เกิดจากการเอา ad ที่มีความหมายว่า ไปสู่หรือเข้าหาบวกเข้ากับ credit ได้ความหมายใหม่ขึ้นมาว่า ให้เกียรติ ความหมายนี้ก็คือการเอาเครดิตหรือความน่าเชื่อถือไปเพิ่มเติมให้เขา
จาก accredit ข้างต้นจะสังเกตได้ว่า ad ที่เข้าไปประชิด credit นั้นจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเป็น ac เพื่อให้เกิดการลื่นไหลเป็นเนื้อเดียวกันเวลาเปล่งเสียง หลังจากเรียบเรียงเสียงใหม่ให้กับการรวมตัวกันแล้ว accredit จึงออกมาเป็นรูปลักษณ์ในขั้นสุดท้ายที่สะดวกในขณะที่พูดและฟัง นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงไปได้อีกคือ คำว่า credentials ความหมายคือ ใบรับรองความซื่อสัตย์ หนังสือรับรอง หรือหลักฐานที่ทำให้เชื่อถือได้ไม่กังขา คำต่อไปคือ credulous มีความหมายว่า ที่เชื่อคนง่าย ที่ถูกหลอกลวงได้ง่าย ที่ไม่รู้สึกกังขาสงสัยในความน่าเชื่อถือของคนที่มาหลอก
หัวใจต่อมาคือ คำว่า spec, spect คำแรกคือ specifications เป็นคำนาม แปลว่า ข้อมูลจำเพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นการระบุคุณสมบัติที่สำคัญหรือลักษณะพิเศษของสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ข้อมูลจำเพาะที่ต้องมองอย่างใส่ใจนี้มีความสำคัญ อย่างเช่นเวลาซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือรถยนต์มาใช้  สิ่งที่ควรจะมองอย่างใส่ใจให้ความสำคัญและศึกษาคือ รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือรถยนต์ รวมถึงขั้นตอนต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องรู้ เพื่อให้การใช้ประโยชน์สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Spec ตัวนี้มีความหมายว่า มองบางครั้งอาจมีตัว  t ต่อท้ายกลายเป็น spect คำต่อมาที่มีหัวใจมาจากคำว่า spec คือ spectacles มีความหมายเดียวกันกับคำว่า glasses แปลว่า แว่นตา จะสังเกตได้ว่า ทั้งสองตัวมี s และ es ที่ส่วนท้าย เพราะธรรมชาติของแว่นตาจะต้องมีสองข้าง รากศัพท์ spec หรือ spect ที่กลายมาเป็นหัวใจของคำในภาษาอังกฤษลักษณะนี้ให้เห็นอีกคือ คำว่า spectacular แปลว่า ที่น่าดูน่าชม น่าประทับใจ มีความไฉไลตระการตา จะเห็นได้ว่า spectacular มีตัว spect ทำหน้าที่อุ้มความหมายว่า มองเอาไว้ในตัวของมัน
อีกศัพท์หนึ่งที่เกี่ยวข้องคือ spectator คำนี้มีความหมายว่า ผู้ดูผู้ชม ปกติจะใช้กับการดูการชมกีฬา คำต่อมาก็เป็นคำศัพท์ที่มีนัยเกี่ยวกับการมองเหมือนกันคือ speculate แต่เป็นการมองแบบคาดการณ์ แบบทึกทัก หรือแบบเก็งกำไร ต่อไปคือ คำว่า expect เป็นคำที่มักจะเห็นได้บ่อย ๆ คำนี้เกิดจาก ex ที่มีความหมายว่า ออก บวกกับ spect ที่มีความหมายว่า มอง (โดยตัว s และเสียงได้เข้าไปอยู่ในเสียงของตัว x แล้วจึงไม่จำเป็นต้องเขียน s ใส่ไปข้างหน้า p อีก) ซึ่งรวมความแล้วคำนี้แปลว่า มองออกไปหาสิ่งหนึ่งสิ่งใด คาดการณ์ว่าจะได้หรือคาดหวังว่าจะเป็นหรือจะมี
ตัวต่อไปคือ suspect แปลว่า ที่สงสัย ไม่น่าไว้ใจ หรือถ้าใช้เป็นคำนามจะมีความหมายว่า ผู้ต้องสงสัย (ที่มาของคำศัพท์นี้คือ sub มีความหมายว่า ข้างใต้ + spect ที่มีความหมายว่า มอง เมื่อรวมกันมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า การแอบซุ่มมองมาจากข้างใต้สื่อความหมายว่า น่าสงสัยจริง ๆ สิ่งนี้ไม่น่าไว้ใจ) อีกคำหนึ่งคือ respect แปลว่า ความเคารพนับถือ หรือแสดงความเคารพนับถือ (re เป็นส่วนใบหน้า มีความหมายว่า ย้อนกลับไปอีกครั้ง บวกกับ spect ที่มีความหมายว่า มอง) และ retrospect เป็นการหวนระลึกไปเบื้องหลัง หรือมองย้อนอดีต (retro เป็นใบหน้าคำศัพท์ที่มีความหมายว่า ย้อนกลับหลังเหมือนกันบวกกับ spect)
คำต่อไปคือ prospect เมื่อมองย้อนหลังแล้วก็ให้มองไปยังข้างหน้า pro  ที่ส่วนหน้าของคำนี้มีความหมายว่า ไปข้างหน้าเมื่อรวมกับ spect ที่หมายถึง มองจึงสื่อความถึงการมองไปข้างหน้า ผลลัพธ์ที่ตามมาคือได้คำแปลของศัพท์ตัวนี้ว่า ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น หรือ ความหวังที่เรามีต่อกาลข้างหน้า คำถัดไปคือ คำว่า inspect เป็นการมองเข้าไปข้างในเพื่อตรวจสอบ ศัพท์นี้จึงแปลว่า ตรวจสอบอย่างพิถีพิถัน ตรวจสอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถี่ถ้วน และอีกคำหนึ่งคือ คำว่า  inspection เป็นคำนาม แปลว่า การตรวจสอบอย่างพิถีพิถันเพื่อหาข้อเท็จจริง
ส่วน inspector คือ คนที่ลงมือตรวจสอบหาความจริงที่หลบซ่อนอยู่ข้างใน เพราะ in คือ ใน และ spect แปลว่า มอง ส่วนบั้นท้าย –or บอกให้รู้ว่านี่คือผู้ลงมือกระทำ ตัวอย่างคำแปลของคำว่า inspector เช่น สารวัตรสืบสวนสอบสวน หรือนายตรวจรถไฟ และคำว่า perspective เป็นศิลปะวาดภาพที่ดูเหมือนมีความลึก คำนี้เกิดจากส่วนหน้าคำ per ที่มีความหมายว่า ทะลุไป ผ่านไปตลอด บวกกับ spect ที่มีความหมายว่า มอง คือเป็นการมองแบบเห็นทะลุไปตลอดทางด้านลึก คำว่า perspective นอกจากจะใช้ในความหมายว่าภาพที่ดูเหมือนมีความลึกแล้ว ยังอาจใช้กับความคิดเห็นหรือทัศนคติที่มีเหตุมีผลตามความเป็นจริง มิใช่การมองแบบเห็นเพียงด้านเดียวหรือมองแบบตื้น ๆ 
หัวใจต่อไปคือ ตาที่ดู...ย่อมมองเห็น vid, vis คำว่า look เป็นการจ้องมองดูอย่างสนใจมากขึ้นจะใช้คำว่า  watch และถ้าเป็นการจ้องมองอย่างเอาจริงเอาจังไม่ละสายตาจะใช้คำว่า stare ตัวอย่างเช่น Look over there. , Watch this television program. , Why do you stare at me? ทั้ง look, watch และ stare เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เรียงความหมายกันตามลำดับของความเข้มข้น ผลลัพธ์ที่ตามมาหลังจาก look, watch และ stare ก็คือ เห็นด้วยตาเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า see และบางครั้งเราอาจพูดประโยคว่า I see. เพื่อให้ความหมายว่า ฉันเข้าใจในสิ่งที่เธอได้พูดได้อธิบายให้ฉันฟังแล้ว
เห็นในแบบแรกเป็นการเห็นแบบตรงตามความหมายด้วยสายตา ส่วนในกรณีหลังจะเป็นการเห็นผ่านทางความคิด และเกิดความเข้าใจในสิ่งที่อีกฝ่ายพูดหรืออธิบาย ดังนั้น I see. ในบางสถานการณ์บางบริบทจึงมีความหมายเท่ากับประโยคว่า I understand. คือฉันเข้าใจ (หมายถึงการเห็นด้วยสมอง) คำที่มีนัยว่า เห็นยังมีอีกสองตัวที่ไม่ได้เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่เอามาใช้พูดได้โดยทันที หากแต่เป็น หัวใจของคำที่ภาษาอังกฤษยืมเอารากภาษาละตินมาเพื่อใช้สร้างคำ
vid กับ vis คือ รากศัพท์นี้มีบทบาทหน้าที่เป็น หัวใจของคำที่อุ้มความหมายหลักของศัพท์หลาย ๆ คำเอาไว้ ความหมายที่ติดตัวไปด้วยเสมอคือ see ที่แปลว่า มองเห็นความหมายจะคล้ายรากศัพท์ว่า spec กับ spect คือจะมีนัยเกี่ยวข้องกับการมองเห็น spec กับ spect เป็นการมองแบบ watch ส่วน vid กับ vis เป็นการเห็นแบบ see ซึ่งหากพบเห็น vid หรือ vis อยู่ในคำนั้น ๆ สามารถเดาได้เลยว่าคำศัพท์คำนั้นจะต้องแฝงความหมายที่เกี่ยวกับการ เห็นอย่างเช่นคำว่า video หรือ vision และคำอื่น ๆ
คำแรกคือ video แปลว่า วิดีทัศน์ คือเป็นภาพ (รวมทั้งเสียง) ที่สามารถมองเห็น (และได้ยิน) ความหมายหลักตามรูปศัพท์ของ video จะหมายถึงการเห็นเท่านั้น ส่วน vision แปลว่า วิสัยทัศน์ เป็นความสามารถในการวางแผนสำหรับอนาคตหรือความสามารถในการมองเห็นด้วยปัญญา จาก vision สามารถเชื่อมโยงได้อีกคือ คำว่า visionless เป็นการใส่บั้นท้าย less เพิ่มเข้าไปให้ vision ได้ความหมายใหม่ในทางตรงกันข้ามว่า ไม่มีวิสัยทัศน์ หรือขาดความสามารถในการวางแผนสำหรับอนาคต (-less เป็นบั้นท้ายของคำศัพท์จำนวนมากในภาษาอังกฤษ มีความหมายว่า ปราศจาก”)
คำว่า television ก็มีหัวใจ “vis” อยู่ ความหมายคือ โทรทัศน์ ซึ่ง vision มีความหมายเกี่ยวกับการเห็น เมื่อเอามาต่อกับ tele ที่แปลว่า ระยะไกล จึงหมายถึงสิ่งที่เราสามารถมองเห็นได้ แม้ว่ามันจะถูกส่งมาจากสถานีโทรทัศน์ที่อยู่ห่างไกลออกไป และคำที่สร้างจากหัวใจ vis ยังมีอีก คือ คำแรก revise แปลว่า แก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น ตามรูปศัพท์แล้วคือการย้อนกลับไปดูสิ่งที่ทำไปแล้วนั้นอีกครั้งว่ามีอะไรต้องปรับปรุงแก้ไขบ้าง ศัพท์ตัวนี้เกิดจากการรวมกันของใบหน้า “re” ที่แปลว่า อีกครั้ง กับส่วนหัวใจ “vis” ที่มีความหมายว่า มองเห็น
คำที่สองคือ revision เป็นรูปคำนามของกริยา revise มีความหมายว่า การแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น, คำที่สามคือ visual แปลว่า เกี่ยวกับการมองเห็น ตัวนี้เป็นคำคุณศัพท์ คือ เป็นคำที่มักจะเอาไว้ใช้ขยายคำนาม อย่างเช่นเอาไปขยายความหมายให้คำว่า education เป็น visual educational แปลว่า ทัศนศึกษา , คำที่สี่คือ visualize เป็นคำกริยาที่ต่อเนื่องมาจากคำว่า visual อีกทอดหนึ่ง มีความหมายว่า นึกเห็นภาพอยู่ในใจ สร้างภาพขึ้นมาในความคิด หรือ มีจินตนาการ , คำที่ห้าคือ visualization แปลว่า การนึกเห็นภาพในใจ การสร้างภาพขึ้นมาในความคิด หรือการใช้จินตนาการ
คำที่หกคือ visible แปลว่า ที่สามารถมองเห็นได้ คำตรงข้ามคือ invisible ซึ่งแปลว่า ล่องหน หรือ ของที่ไม่สามารถมองเห็นได้ (เกิดมาจากการรวมกันของใบหน้า in คือ ไม่ + หัวใจ vis คือ เห็น + บั้นท้าย ible คือ สามารถ รวมความแล้วแปลว่า ที่ไม่สามารถมองเห็นได้) , คำที่เจ็ดคือ evident มีความหมายว่าเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะมี e ซึ่งย่อมาจาก ex อยู่ที่ส่วนหน้าของคำ ตามรูปศัพท์จึงแปลว่า ที่ชัดเจนออกมาให้เห็น และ evidence ที่มีคำแปลว่า หลักฐาน เพราะโดยธรรมชาติของคำว่าหลักฐานคือสิ่งที่ปรากฏอยู่กับตาให้ได้เห็นอย่างชัดเจนว่าข้อเท็จจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร
คำต่อไปคือ provide ตัวนี้เกิดจากการเอาใบหน้า pro ที่มีความหมายว่า ข้างหน้าผสมกับ vid ที่แปลว่า เห็นได้เป็นคำภาษาอังกฤษที่แปลว่า จัดเตรียมเอาไว้ล่วงหน้า หรือจัดหามาให้ หากจะเชื่อมโยงไปอีกจะได้คำว่า provision ซึ่งแปลว่า การจัดเตรียมเอาไว้ล่วงหน้าหรือการจัดหาให้ หากใส่ s เข้าไปที่ข้างหลังเป็น provisions เป็นรูปพหูพจน์จะมีความหมายว่า เสบียงอาหารสำหรับการเดินทางไกล คำต่อไปคือคำว่า visit ก็เกิดจากการเอาหัวใจ “vis” มาสร้างเป็นคำศัพท์เหมือนกัน คำแปลของคำนี้คือ เยี่ยมเยือน และ visitor เป็นคำที่โยงต่อมาจาก visit อีกที เพราะหลังจากใส่บั้นท้าย –or ให้กริยา visit เป็น visitor ก็หมายถึง ผู้ที่มาเยี่ยมเยือน หรือแขกผู้มาเยือน
หัวใจต่อไปคือ คำศัพท์อันเนื่องมาจาก หูได้แก่ aud, audio คำแรกคือ audio เป็นศัพท์เกี่ยวกับหูที่ควรรู้ ศัพท์ตัวนี้มีความหมายว่า ซึ่งเกี่ยวกับเสียงที่เราได้ยิน คำที่สองคือ audiotape ก็เป็นศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเสียงและการได้ยินเหมือนกัน คำนี้แปลว่า เทปที่ใช้สำหรับบันทึกเสียง ศัพท์ตัวนี้จะประกอบด้วย audio ที่มีความหมายว่าเสียงที่ได้ยินกับ tape ซึ่งเป็นแถบที่มีสัญญาณแม่เหล็กอยู่ด้วยใช้สำหรับบันทึกเสียงเก็บไว้ฟัง คำที่สามคือ audible แปลว่า เสียงที่ดังพอจะได้ยิน หากเติม in ไปข้างหน้าเพื่อให้ได้ความหมายแบบปฏิเสธก็จะได้คำว่า inaudible ที่แปลว่า เสียงที่เบามากจนไม่อาจได้ยิน
ศัพท์ที่เกี่ยวกับการได้ยินตัวต่อไปคือ audiophile ศัพท์ตัวนี้หมายถึง คนที่รักและสนใจในเครื่องเสียงเป็นอย่างมาก คำนี้เกิดมาจากการรวมกันของ audio ที่หมายถึงเสียงที่เราได้ยินกับ phile ที่มาจากภาษากรีกแปลว่า รัก ต่อไปเป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวกับสถานที่ที่เราไปฟัง คำศัพท์นั้นคือ auditorium ศัพท์นี้มีความหมายว่า หอประชุม สถานที่สำหรับฟัง หรือที่นั่งของผู้ชมผู้ฟังดนตรีและละคร เมื่อมีคนแสดงมีคนพูดก็ต้องมีผู้ชมผู้ฟังจึงเกิดมีคำว่า audience ศัพท์นี้มีความหมายว่า ผู้ชมผู้ฟังดนตรี ผู้ชมละครหรือผู้ที่ชุมนุมกันเพื่อฟังสุนทรพจน์ โดยปกติ audience จะเป็นกลุ่มคนจำนวนมาก ๆ คำศัพท์ง่าย ๆ ที่มีความหมายเหมือนกับคำนี้คือ listeners
คำต่อมาคือ audio-visual เป็นศัพท์ที่ประกอบด้วย หัวใจสองดวงคือ aud กับ vis ตัวแรกเกี่ยวกับการได้ยิน ตัวหลังเกี่ยวกับการมองเห็น เมื่อรวมกันเป็น audio-visual จึงมีความหมายว่า ที่ใช้ทั้งเสียงและภาพ ศัพท์ที่มี aud เป็นหัวใจของคำต่อไปคือ audition ตัวนี้แปลว่า การทดสอบนักร้องนักแสดงว่ามีความสามารถแสดงจริงได้หรือไม่ และตัวสุดท้ายคือ auditor ศัพท์ตัวนี้หากมองตามรูปศัพท์ก็จะมีความหมายว่า ผู้ฟัง เพราะ audi มีความหมายว่า ได้ยิน หรือฟัง และบั้นท้าย –or ที่เติมมานั้นบอกให้รู้ว่าเป็นผู้กระทำกริยาฟังหรือได้ยิน นอกจากจะแปลว่า ผู้ฟัง แล้ว ยังมีอีกหนึ่งความหมายคือ ผู้ตรวจสอบบัญชี
หัวใจต่อมาคือ เพราะเสียงจึงเกิดศัพท์...voc กับ phon ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์ในภาษาใด ๆ ล้วนได้มาจากการเปล่งเสียงเรียกชื่อและสิ่งซึ่งเป็นจริงในโลกของภาษาก็คือเสียงพูดจะเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงค่อยพัฒนามาเป็นภาษาเขียน เพราะเสียงก่อให้เกิดคำในภาษาดังว่านี้เอง คำว่า vocabulary ในภาษาอังกฤษที่แปลว่า คำศัพท์ มีส่วนหัวใจ คือ voc  ซึ่งมีนัยว่า เสียงที่อยู่ต้นคำนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญอุ้มความหมาย voc ตัวนี้มีที่มาจากคำกริยาภาษาละตินว่า vocare ซึ่งมีความหมายว่า to call หรือ เสียงที่เรียกชื่อแต่เมื่อตัดส่วนท้ายทิ้งไปจะเหลือส่วนที่เป็นแก่นคำคือ voc ที่ภาษาอังกฤษหยิบยืมเอามาใช้เป็นส่วนหัวใจในการสร้างคำ
จาก voc ที่เป็นหัวใจของคำที่มีความหมายว่า เสียงที่เรียกชื่อ” (บางครั้งอาจจะสะกดเพี้ยนไปเป็น vok ก็เนื่องมาจากภาษาของมนุษย์มีการพัฒนา) ได้แก่ คำแรกคือ vocal แปลว่า ที่เกี่ยวกับเสียง คำที่สองคือ vocal cords มีความหมายว่า เส้นเสียง cords ที่แปลว่า เส้นหรือเชือกนั้นเติม s ที่ข้างท้าย แสดงว่าต้องเป็นเส้นเสียงที่มีมากกว่าหนึ่งเส้น คำที่สามคือ vocalize แปลว่า เปล่งเสียงออกไป ซึ่ง –lize ที่ส่วนท้ายนั้นที่ทำให้บทบาทของคำเปลี่ยนไปกลายเป็นคำกริยา และคำที่สี่คือ vocalist มีความหมายว่า นักร้อง เพราะบั้นท้าย –ist ที่เติมเข้าไปทำให้ศัพท์คำนี้มีความหมายถึงคนที่ทำกริยา
คำต่อไปคือ vocation ตัวนี้แปลว่า อาชีพ ที่มาของคำแปลนี้มาจากความคิดว่า อาชีพคือสิ่งที่เรียกร้องให้เราต้องไปหา เป็นภาระที่เราต้องทำตามหน้าที่ และเพราะ vocare ในภาษาละติน to call จึงมีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า a calling ที่แปลว่า อาชีพ นั้นขึ้นมาอีกคำหนึ่ง ดังนั้น คำศัพท์ที่มีความหมายว่าอาชีพจึงมีให้เลือกใช้ได้หลากหลายเพื่อความไม่ซ้ำซาก อีกคำหนึ่งที่มีความหมายว่า ที่เกี่ยวกับอาชีพ คือคำว่า vocational ศัพท์ตัวนี้จะถูกเอาไปใช้ขยายคำว่า school กับ student ที่พบบ่อย ๆ ได้เป็นคำว่า vocational school โรงเรียนอาชีวะ และ vocational student นักเรียนอาชีวะ
และหัวใจของคำที่มีความหมายว่า เสียงยังมีอีกตัวหนึ่งคือ phone คือคำศัพท์ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับเสียง ตัวนี้แปลว่า พูดโทรศัพท์ การพูดโทรศัพท์ หรือเครื่องโทรศัพท์ ศัพท์ตัวนี้มีที่มาจากคำว่า phon ในภาษากรีกซึ่งแปลว่า เสียง คำที่มีหัวใจ “phone”  ได้แก่ คำแรกคือ telephone เกิดจาการรวมกันของส่วนใบหน้าคำ tele ที่มีความหมายในภาษากรีกว่า ระยะไกล กับ phone ที่มีความหมายว่า เสียง เมื่อระยะไกลบวกกับเสียง คำแปลของศัพท์นี้คือ การติดต่อทางโทรศัพท์ หรือการคุยกันด้วยเสียงระยะไกล คำที่สองคือ phonetics แปลว่า สัทศาสตร์ หรือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเสียงพูดของมนุษย์
หัวใจต่อมาคือ ลมหายใจเข้า ออก...บอกความหมาย spir breath เป็นคำนาม แปลว่า ลมหายใจ หรือการหายใจ จะออกเสียงและสะกดต่างไปจาก breathe ที่แปลว่า หายใจ ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำกริยา คำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่เป็นรูปคำนามและมีความหมายเหมือนกันกับ breath แต่ยากกว่าได้แก่คำว่า respiration  respiration มีความหมายว่า การหายใจ ศัพท์ตัวนี้สามารถใช้อธิบายความหมายของศัพท์ได้อีกหลายคำที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน คำนาม respiration   มาจากคำกริยาว่า respire (ซึ่งมีความหมายและบทบาทหน้าที่อย่างเดียวกันกับคำว่า breathe)
คำต่อมาคือ respire แปลว่า หายใจ ได้มาจากคำกริยาภาษาละตินอีกทอดหนึ่ง คำกริยาซึ่งเป็นต้นตอนี้ได้แก่คำว่า spirare แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า to breathe เมื่อเอาคำกริยาตัวนี้มาตัดบั้นท้ายออกให้เหลือแค่ส่วนหัวใจก็จะได้รากศัพท์ว่า spir มาใช้สร้างคำในภาษาอังกฤษ ดังนั้น respire หมายถึง หายใจเข้าแล้วก็หายใจออก เพราะคำนี้ประกอบด้วยใบหน้า re (อีกครั้ง) กับหัวใจคือ spire (หายใจ) คำต่อมาคือ expire มีความหมายว่า หมดอายุ เพราะใบหน้า ex ของคำนี้สื่อความหมายถึงลมหายใจที่ออกจนหมดร่าง expiry date หรือ expiration date จะเป็นคำที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อยหากสังเกตที่กล่องผลิตภัณฑ์เพราะความหมายคือ วันหมดอายุ
คำต่อไปคือ inspire แปลว่า ดลใจ หรือให้แรงบันดาลใจ เพราะ in คือ ใน บวกกับ spire สื่อความหมายว่า ลมหายใจของพระเจ้าบนสรรค์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่เป่าเข้าไปในหัวใจเราให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ คำต่อมาคือ inspiration แปลว่า แรงบันดาลใจ เป็นคำนาม เพียงแค่ใส่บั้นท้าย –tion ไปที่ข้างหลัง หน้าที่ของคำก็จะเปลี่ยนไป อีกคำหนึ่งคือ aspire มีความหมายว่า ใฝ่ฝัน ทะเยอทะยาน อยากได้สิ่งดี ๆ ซึ่งศัพท์ตัวนี้เกิดจากใบหน้า ad ที่แผลงมาเป็น as หลังจากรวมเข้ากับ spire กลายเป็น aspire สื่อความนัยถึงลมหายใจที่พุ่งสู่ความฝันอันยิ่งใหญ่ที่ปรารถนา
และตัวสุดท้ายที่เกิดมาจากหัวใจ spir คือ perspire เป็นคำกริยา แปลว่า เหงื่อออก เพราะ per เป็นส่วนใบหน้าคำที่มาจากภาษาละตินมีความหมายว่า ทะลุตลอด ผ่านไปได้ตลอดรอดฝั่ง เมื่อรวมกับ spire คือ หายใจ ก็จะได้ความหมายในบั้นปลายว่า คือกริยาหายใจเอาความร้อนผ่านทางผิวหนังออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อ อีกคำหนึ่งที่มีความหมายว่า เหงื่อ คือ sweat เป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยาแต่ถ้าใช้เป็นคำนามก็จะตรงกับคำว่า perspiration
เมื่อได้เรียนรู้สันดานของคำศัพท์แต่ละคำแล้ว จากนี้คือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาหลักไวยากรณ์เรื่อง “Pronouns” Pronoun หรือคำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม หรือนามวลีที่กล่าวมาแล้ว เมื่ออยู่ในประโยคคำสรรพนามจะทำหน้าที่ดังนี้ หนึ่งคือ ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น I am a doctor., We are student. สองคือ ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา เช่น The watch is hers., What is that? สามคือ ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา เช่น She gave me a pen., He loves her. สี่คือ ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบท เช่น The man is looking at me., She is angry with him.
หน้าที่ต่อไปคือหน้าที่ที่ห้า ทำหน้าที่เป็นสรรพนามสะท้อน เช่น She myself wrote the letter to you., She answered the phone herself. หกคือ ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น It is my watch., That is her house. เจ็ดคือ ทำหน้าที่เป็นคำถามหรือปุจฉาสรรพนาม เช่น Who is talking on the phone., Whom did you see at the shop yesterday? และแปดคือ ทำหน้าที่เป็นคำเชื่อมหรือประพันธ์สรรพนาม เช่น Prasit, who got the prize, has left for India., There are a few leaders whom all respect.
คำสรรพนามสามารถแบ่งออกเป็น 7 ชนิดคือ ชนิดที่หนึ่ง คือ Personal Pronoun (บุรุษสรรพนาม) คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนบุคคล ได้แก่ I, my, mine, me, We, our, ours, us, you, your, yours, he, his, him, she, her,hers, it, its, they, their, theirs, them เช่น You should leave your tray on that table.  I've already put mine there. ชนิดที่สอง คือ Demonstrative Pronoun   คือ คำสรรพนามที่แสดงการชี้เฉพาะ ได้แก่ this, that, these และ those เช่น This is his new pocketbook., These are Kate's belongings. ชนิดที่สาม คือ Indefinite Pronoun คือ คำสรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะ ได้แก่ everyone, everybody, everything, 
someone,somebody,something, anyone,anybody,anything,each,another,either, etc. เช่น Nobody is perfect.
ชนิดที่สี่ คือ Relative Pronoun   คือ คำสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยคย่อยไม่อิสระเข้ากับคำนามหรือสรรพนามอื่นที่ต้องการขยาย ได้แก่ who, whom, whose, which และ that เช่น My niece who is married to a vet is going to have a baby. ชนิดที่ห้า คือ Reflexive and Intensive Pronoun คือ คำสรรพนามที่ใช้เมื่อประธานและกรรมเป็นคนเดียวกันหรือสิ่งเดียวกัน ได้แก่ myself, yourself, himself, herself, itself, ourselves, yourselves, themselves ( รูป –self /-selves ของคำสรรพนามที่ใช้แทนบุคคล) เมื่อทำหน้าที่เป็นกรรม หรือส่วนเสริมประธาน จะเรียกว่า reflexive pronoun เช่น She cut herself when cooking.  และเมื่อทำหน้าที่เป็น appositive เพื่อเป็นการเน้นประธาน จะเรียกว่า intensive pronoun เช่น I did this myself .
ชนิดที่หก คือ Interrogative Pronoun คือ คำสรรพนามที่ใช้ในการถามคำถาม ได้แก่  who, which , what เช่น Which is your bag, the black one or the brown one? , What happened at the BTS station? และชนิดที่เจ็ด คือ Reciprocal Pronoun คือ คำสรรพนามที่ใช้แสดงว่าบุคคลหรือสิ่งนั้นกระทำหรือรู้สึกเช่นเดียวกันต่อกัน เช่น Romeo and Juliet love each other so much.These quadruplets ( ฝาแฝดสี่คน) always take care of one another . และคำสรรพนามในภาษาอังกฤษมี 3 รูปคือ รูปที่หนึ่ง subjective ( รูปที่เป็นประธาน) : I ,he, she, it, we, they, you, who รูปที่สอง possessive ( รูปที่แสดงความเป็นเจ้าของ) : my, mine,his, her, hers, its, our, ours, their, theirs, your, yours, whose และรูปที่สาม objective ( รูปที่เป็นกรรม) : me , him, her, it, us, them, you, whom
จากการเรียนรู้คำศัพท์จากหัวใจข้างต้นทำให้ดิฉันสามารถเดาความหมายของคำศัพท์ได้จากการดูที่หัวใจของแต่ละคำ และคำศัพท์ในแต่ละคำสามารถเชื่อมโยงคำที่มีความหมายเหมือนกันไปได้อีกเรื่อย ๆ ทำให้จดจำได้ง่ายขึ้น เช่น คำว่า audiotape เป็นศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเสียงและการได้ยิน แปลว่า เทปที่ใช้สำหรับบันทึกเสียง ซึ่งคำศัพท์นี้ประกอบด้วย audio ที่มีความหมายว่าเสียงที่ได้ยินกับ tape ซึ่งเป็นแถบที่มีสัญญาณแม่เหล็กอยู่ด้วยใช้สำหรับบันทึกเสียงเก็บไว้ฟัง และได้เรียนรู้คำสรรพนามที่เป็นประธาน เป็นกรรม และแสดงความเจ้าของ รวมทั้งชนิดของคำสรรพนามทั้งหมด ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่าคำไหนที่เป็นคำสรรพนามเมื่ออยู่ในประโยค



                                     









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น