วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning Log 5 นอกห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 5
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
ในปัจจุบันภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาที่มีความสำคัญมาก คนรุ่นใหม่มักจะมีการศึกษาวิชาภาษาอังกฤษทั้งในและนอกชั้นเรียนกันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้อย่างเข้าใจ  โดยวิชาภาษาอังกฤษนั้นมีพื้นฐานทางภาษา ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ  ซึ่งได้แก่ การรู้จักส่วนของคำพูด (Part of Speech) , การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์และคำคุณศัพท์ (Comparison) , กาล (Tense) , คำบ่งชี้ (Determiner) ,  ประโยคคำถาม (Question Sentence) , Direct & Indirect Speech , ประโยคเงื่อนไข (If-Sentence) , และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ในที่นี้ดิฉันจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Active & Passive Voice เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

      วิธีพูด (Voice) ในภาษาอังกฤษสามารถพูดได้ 2 วิธี คือ พูดว่าใครหรือสิ่งใดเป็นผู้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง และพูดว่าใครหรือสิ่งใดถูกกระทำด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการพูดแต่ละวิธีนั้นจะเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ที่ไม่เหมือนกัน วิธีพูดทั้ง 2 วิธี คือ Active Voice คือ การพูดว่าใครหรือสิ่งใดเป็นผู้กระทำการ และ Passive Voice คือ การพูดว่าใครหรือสิ่งใดเป็นผู้ถูกกระทำ เช่น  Active : A dog bites that boy. และ Passive : That boy is bitten by the dog. จากประโยคทั้งสองประโยคดังกล่าวจะเห็นได้ว่า รูปประโยคนั้นมีความคล้ายคลึงกัน แต่ความหมายจะแตกต่างกันที่ประธาน ว่าประธานในประโยคนั้นเป็นผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ
โดยหลักการการเปลี่ยนรูปประโยคใหม่ก็เพื่อให้ประโยคใหม่ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น กล่าวคือ ถ้าเป็นไปได้จะละ by O’ (กรรมที่ดึงมาจากประธานของประโยค Active voice) เพื่อให้ประโยคนั้นสั้นลงหรืออีกเหตุผลหนึ่งของการเปลี่ยนรูปประโยค คือ เพื่อเน้นกรรมของ Active voice เช่น Your wisdom tooth should be extracted immediately by a dentist. ซึ่งประโยคนี้ไม่จำเป็นต้องใส่ by a dentist เนื่องจากการถอนฟันต้องกระทำโดยผู้มีหน้าที่รักษาฟันและช่องปากก็คือ ทันตแพทย์ อยู่แล้ว ทั้งนี้ ในภาษาอังกฤษ ถ้าต้องการเน้นกรรมของ Adv. แล้วสามารถนำมาใช้ขึ้นต้นประโยคได้ ซึ่งในบางกรณีต้องเปลี่ยนรูปประโยคด้วย
การเปลี่ยนจาก Active voice เป็น Passive voice มีรูปแบบคือ Active : ประธาน + กริยา + กรรม, Passive voice : กรรมในประโยค Active + Verb to be + V.3 + ( by + ประธานในประโยค Active ) ซึ่งสามารถทำได้โดย ขั้นแรก คือ นำกรรมของประโยคเดิมมาเป็นประธานของประโยคใหม่ ขั้นที่สอง คือ ใส่ Verb to be ที่อยู่ใน Tense เดียวกับกริยาเดิมและคล้อยตามประธาน คือ เป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ตามรูปประธาน ขั้นที่สาม คือ เปลี่ยนกริยาเดิมให้เป็นกริยาช่องที่ 3 และขั้นที่สี่ คือ นำประธานของประโยคเดิมมาเป็นกรรมอยู่หลัง by เช่น He kicks a ball. (เขาเตะลูกบอล)
จากประโยคดังกล่าวสามารถทำเป็น Passive voice ได้คือ ขั้นที่หนึ่ง นำกรรมของประโยคเดิมคือ a ball มาเป็นประธานของประโยคใหม่ ขั้นที่สอง นำ Verb to be ที่มี Tense และพจน์เดียวกันกับประธานมาใส่ จะได้รูปประโยคคือ A ball is …. ขั้นที่สาม เปลี่ยนกริยาเดิมเป็นกริยาช่อง 3 คือ เปลี่ยน kick เป็น kicked และขั้นที่สี่ นำประธานของประโยคเดิมมาเป็นกรรมของประโยคหลัง by ซึ่งจะได้ประโยคดังนี้ A ball is kicked by him. (ลูกบอลถูกเตะโดยเขา) ดังนั้น ประโยคในภาษาอังกฤษสามารถบอกได้ว่า ประธานในประโยคนั้นเป็นผู้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเป็นผู้ถูกกระทำ
เนื่องจาก Passive voice ส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนรูปจากประโยค Active voice ดังนั้น จึงควรทราบว่า Passive voice จะใช้เมื่อไหร่ โดยประการแรกนั้นจะใช้เมื่อพูดถึงผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการกระทำนั้นโดยตรง เช่น คนร้ายถูกจับโดยผู้รักษากฎหมายหรือตำรวจ, คนบาดเจ็บถูกรักษาโดยแพทย์, ถนนถูกกวาดโดยคนกวาดถนน, หรือลูกค้าในภัตตาคารหรือร้านอาหารได้รับการบริการโดยบริกร เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ใส่ by O’ (กรรมที่ดึงมาจากประธานของประโยค Active voice) เช่น The President was hustled out off the stage by his guards. แปลว่า ประธานาธิบดีถูกคุ้มกันออกไปจากเวที (โดยผู้อารักขาของเขา)
ประการที่สองใช้เมื่อไม่ทราบว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำนั้น เช่น กระเป๋าสตางค์ถูกล้วงไปโดยนักล้วงกระเป๋า หรือในอีกนัยหนึ่ง คือ ผู้กระทำอยู่ในรูป a/an + N, someone, somebody, one, anyone, someone, on one, people เป็นต้น เช่น My new bicycle was stolen last night by a burglar. แปลว่า จักรยานคันใหม่ของฉันถูกขโมยไปเมื่อคืนนี้ (โดยหัวขโมย) ประการที่สามใช้เมื่อเขียนรายงานผลการทดลองที่ผู้เขียนกระทำเอง ประโยคส่วนใหญ่จะเขียนในรูปของ Passive voice โดยละ by O’ (กรรมที่ดึงมาจากประธานของประโยค Active voice) ไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนหรือความหลากหลายในการใช้ประธาน เช่น 5.0 Mg of A was introduced into the mixture and then this mixture was agitated for six hours. (โดยผู้เขียน/ผู้ทำการทดลองเอง)
และประการสุดท้ายใช้เมื่อต้องการเชื่อม 2 ประโยคเข้าด้วยกัน ตามความนิยมแล้วจะเปลี่ยนประธานที่ซ้ำกันของประโยคที่จะนำไปขยายเป็น who/which/that แล้วนำไปแทรกในประโยคหลัก เช่น A car hit my son last week. และ My son died last night. สองประโยคนี้มีคำซ้ำกัน คือ my son โดยที่ประโยคแรกมี รถยนต์คันหนึ่งซึ่งไม่รู้แน่ว่าเป็นคันไหนเป็นประธานผู้กระทำ และสนใจ my son มากกว่า ดังนั้น จึงเปลี่ยนรูปประโยคเป็น Passive voice เพื่อให้เชื่อมประโยคง่ายขึ้นคือ My son was hit by a car last week. จากนั้น เปลี่ยน my son ในประโยคแสดงผลเป็น who และนำเข้าไปแทรกในประโยคเหตุ ดังนี้ My son who was hit by a car last week died last night.
โครงสร้างของประโยค Passive voice ทั้ง 12 Tense มีดังนี้ Present Simple : ประธาน + is/am/are + V.3 เช่น ประโยค Active คือ He annoys her. และประโยค Passive คือ She is annoyed by him. , Present Continuous : ประธาน + is/am/are + being + V.3 เช่น ประโยค Active คือ He is annoying her. และประโยค Passive คือ She is being annoyed by him. , Present Perfect : ประธาน + has/have + been + V.3 เช่น ประโยค Active คือ He has annoyed her. และประโยค Passive คือ She has been annoyed by him. , และ Present Perfect Continuous : ประธาน + has/have + been + being + V.3 เช่น ประโยค Active คือ He has been annoying her. และประโยค Passive คือ She has been being annoyed by him. 
Past Simple : ประธาน + was/were + V.3 เช่น ประโยค Active คือ He annoyed her. และประโยค Passive คือ She was annoyed by him. , Past Continuous :  ประธาน + was/were + being + V.3  เช่น ประโยค Active คือ He was annoying her. และประโยค Passive คือ She was being annoyed by him. , Past Perfect : ประธาน + had + been + V.3  เช่น ประโยค Active คือ He had annoyed her. และประโยค Passive คือ She had been annoyed by him. , และ Past Perfect Continuous :ประธาน + had + been + being + V.3  เช่น ประโยค Active คือ He had annoying her. และประโยค Passive คือ She had been being annoyed by him.      
Future Simple : ประธาน + will/shall + be + V.3 เช่น ประโยค Active คือ He will annoy her. และประโยค Passive คือ She will be annoyed by him. , Future Continuous : ประธาน + will/shall + be + being + V.3 เช่น ประโยค Active คือ He will be annoying her. และประโยค Passive คือ She will be being annoyed by him. , Future Perfect : ประธาน + will/shall + have + been + V.3 เช่น ประโยค Active คือ He will have annoyed her. และประโยค Passive คือ She will have been annoyed by him. , และ Future Perfect Continuous : ประธาน + will + have + been + being + V.3 เช่น ประโยค Active คือ He will have been annoying her. และประโยค Passive คือ She will have been being annoyed by him.
การเปลี่ยนรูป Passive voice ของประโยคคำถามอาจทำได้โดยเปลี่ยนประโยคคำถามกลับเป็นประโยคบอกเล่าก่อน จึงเปลี่ยนรูปประโยคบอกเล่าเป็น Passive voice แล้วจัดรูปกลับเป็นประโยคคำถาม เช่น Whom did you see walking in the shopping center? ขั้นที่หนึ่ง คือ เปลี่ยนรูปประโยคเป็นบอกเล่า (คือ อยากถามอะไรก็ให้ใช้ WH-question words ที่เหมาะสมใส่ในตำแหน่งนั้น แล้วจึงจัดรูปให้เป็นประโยคคำถาม) จากนั้น หาประธาน, กริยา (ช่วย+หลัก), กรรม และส่วนขยายได้ ขั้นที่สอง คือ เปลี่ยนรูปประโยคบอกเล่านี้เป็น Passive voice ตามปกติ และขั้นที่สาม คือ นำกริยาช่วยมาไว้หลัง WH words เพื่อสร้างเป็นคำถาม จะได้ประโยคดังนี้ Whom was seen walking in the shopping center by you?
ถ้าในประโยค Active voice มีคำกริยาวิเศษณ์แสดงความถี่อยู่ ให้วางคำกริยาวิเศษณ์นั้นไว้หลังกริยาช่วยตัวแรก ไม่ว่าในประโยคนั้นจะมีกริยาช่วยกี่ตัวก็ตาม เช่น Active : She often eats salad. และ Passive : Salad is often eaten by her. และหากมีกริยาวิเศษณ์บอกลักษณะอาการอยู่ ให้วางคำกริยาวิเศษณ์นั้นไว้หน้ากริยาหลักช่องที่ 3 เช่น Active : She does her work easily. และ Passive : Her work is easily done (by her). ถ้าประธานของประโยคมีความหมายเป็นปฏิเสธ ซึ่งได้แก่คำว่า no one, nobody หรือ nothing เมื่อเปลี่ยนเป็น Passive ให้นำเอาคำที่มีความหมายปฏิเสธ หรือ not ใส่ไว้หลังกริยาช่วย เช่น Active : No one annoyed him. และ Passive : He was not annoyed.
และเมื่อประโยค Active voice ที่มีลักษณะเป็นคำสั่ง เมื่อจะเปลี่ยนเป็น Passive voice ให้ใช้รูปแบบดังนี้ Let + กรรม + be + V.3 เช่น Active : Open the door. และ Passive : Let the door be opened. และ Active voice ที่มีส่วนขยายเป็น Infinitive และ Gerund เมื่อจะเปลี่ยนเป็น Passive voice ให้ใช้รูปแบบดังนี้ เช่น to sleep (Infinitive) เปลี่ยนเป็น to be slept, to see (Infinitive) เปลี่ยนเป็น to be seen , taking (Gerund) เปลี่ยนเป็น being taken , meeting (Gerund) เปลี่ยนเป็น being met เช่น Active : I want them to take this table away. และ Passive :  I want this table to be taken away.
Passive voice บางครั้งไม่ใส่ by เนื่องจากรู้อยู่แล้วว่าผู้กระทำเป็นใคร แต่บางประโยค Passive ต้องบอกผู้กระทำหลัง by ด้วย ในกรณีดังนี้ กรณีที่หนึ่ง คือ ในกรณีที่ผู้กระทำสำคัญต่อประโยคนั้นมาก เช่น Hamlet was written by Shakespeare. กรณีนี้ชื่อผู้เขียนหนังสือมีความสำคัญมากจึงต้องใส่ไว้หลัง by กรณีที่สอง คือ ในกรณีที่ผู้กระทำไม่ใช่สิ่งมีชีวิต เช่น She was all shocked by the news. อีกทั้ง Passive voice ในกรณีที่มีกรรม 2 ตัว คือ Direct Object (กรรมตรง) ซึ่งโดยปกติมักเป็นสิ่งของ และ Indirect Object (กรรมรอง) ซึ่งปกติมักเป็นบุคคล เช่น He told me a story. ประโยคนี้มีกรรม 2 ตัว คือ me เป็นกรรมรอง ส่วน story เป็นกรรมตรง เมื่อจะเปลี่ยนให้เป็น Passive voice จะนำกรรมตัวใดมาเป็นประธานก็ได้ ดังนี้ Passive (1) : A story was told (to) me by him. และ Passive (2) : I was told a story by him.
พื้นฐานทางภาษา และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษนั้นถือว่ามีความละเอียด และซับซ้อนมากพอสมควร ดังเรื่อง Active Voice  & Passive Voice ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรูปประโยค Active Voice เป็น Passive Voice , โครงสร้างของประโยค Passive Voice ทั้ง 12 Tenses, ประโยค Passive ที่ต้องมี by และกฎเกณฑ์อื่น ๆ ในการเปลี่ยน ทำให้ดิฉันมีความเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น มีความแม่นยำในการเปลี่ยนรูปประโยคมากขึ้น และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแปลประโยคได้อีกด้วย
อ้างอิง : ไพบูลย์   เปียศิริ.  2554.  ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ&กริยา 3 ช่อง. ฉะเชิงเทรา: พีเอ็นเอ็น กรุ๊ป.

ณพวัสส์   ธัมพิพิธ.  2552.  จับจุดไวยากรณ์.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น