วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล ความสำคัญของการแปล

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันภาษาอังกฤษมีความสำคัญมาก เพราะมีการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารอย่างกว้างขวาง เช่น ด้านการเรียน ด้านการท่องเที่ยว ด้านการค้าขาย ด้านการเมือง เป็นต้น เมื่อการติดต่อสื่อสารเจริญก้าวหน้าผู้คนก็จะติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น การแปลจึงยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะประเทศไทยมีการติดต่อกับประเทศต่างๆมากขึ้น บางครั้งการอาศัยผู้แปลนั้นก็เป็นการประหยัดเวลาและได้รับงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ผู้แปลจะต้องมีความตื่นตัวในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลในการเทียบเคียงความหมาย การเลือกใช้คำที่เหมาะสม ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าศัพท์เฉพาะในทุกสาขาวิชา และนอกเหนือจากความรู้แล้ว ผู้แปลจะต้องมีความสามารถในด้านภาษาต้นฉบับและที่แปลเป็นอย่างดีแล้วเพื่อถ่ายทอดงานแปลนั้นออกมาอย่างถูกต้องแม่นยำ

การแปลในประเทศไทย
การแปลในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราชที่ส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศสจึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการแปลเอกสารต่าง ๆ ในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ เมื่อการติดต่อและการเดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น ความต้องการด้านการแปลจึงมีมากขึ้น  
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษาและการใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ ซึ่งนักศึกษาจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาโดยการได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผล
การแปล คือ กระบวนการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง โดยมีใจความสมบูรณ์และควรรักษารูปแบบให้ตรงตามต้นฉบับ
คุณสมบัติของผู้แปล
1.             เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.             สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
3.             เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา เข้าใจและซาบซึ้งในความงามของภาษา
4.             เป็นผู้รอบรู้ รักการเรียน รักการอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย
5.             มีความอดทนและเสียสละ
6.             มีจรรยาบรรณของนักแปล
7.             มีความละเอียดรอบคอบและระมัดระวังในการใช้ภาษา
8.             สามารถตีความจากต้นฉบับได้เป็นอย่างดี
นักแปลที่มีคุณภาพ หมายถึง นักแปลที่สามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วน มีความรู้ภาษาของต้นฉบับและภาษาที่ใช้แปลได้อย่างดี
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1.             เพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพ
2.             ผู้แปลสามารถจับใจความสำคัญและสามารถถ่ายทอดความเข้าใจออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้
3.             เพื่อเตรียมตัวก่อนที่จะไปประกอบอาชีพหรือการดูงานของนักแปลในสำนักงาน
หลักสำคัญในการแปล คือ ผู้แปลจะต้องเข้าใจในเนื้อหาและความตั้งใจของผู้เขียนต้นฉบับอย่างถ่องแท้ ควรหลีกเลี่ยงการแปลคำต่อคำ ควรใช้ภาษาปัจจุบันในการแปล
การแปลที่ดีจะต้องแปลตรงกับต้นฉบับทุกประการ เป็นธรรมชาติและดูง่าย
บทบาทของการแปล
การแปลเป็นทักษะพิเศษในการสื่อสาร คือ ผู้รับสารไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่จะรับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง
ลักษณะของงานแปลที่ดี ควรมีเนื้อหาตรงตามต้นฉบับ โดยการใช้ภาษาที่ชัดเจน แสดงความคิดเห็นอย่างเด่นชัด ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสม และคงรักษาแบบของการเขียนของต้นฉบับไว้ และอาจมีการปรับแต่งถ้อยคำให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบันเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ


ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.             ในงานแปล ภาษาไทยที่ใช้มีลักษณะเป็นธรรมชาติ ปรับให้เป็นสำนวนไทยที่ใช้โดยทั่วไป ใช้ศัพท์เฉพาะสาขาและศัพท์เทคนิคได้เหมาะสมครอบคลุมความหมายทั้งหมด
2.             เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
3.             แปลแบบเก็บความเรียง ไม่แปลคำต่อคำ
การให้ความหมายในการแปล คือ
1.             การแปลที่รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายเดียวกัน
2.             ตีความหมายจากปริบทของข้อความต่างๆ อาจดูจากรูปภาพ การกระทำ ตลอดจนสถานภาพต่างๆ
การแปลอังกฤษเป็นไทย ต้องคำนึงถึงความหมาย 7 ประการ ดังนี้
1.             อนาคตกาล เปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาลและอนาคตกาล
2.             ในประโยคปฏิเสธจะแปลได้ในระดับประโยค
3.             ศัพท์เฉพาะ การแปลความหมายตามศัพท์จะดูง่าย
4.             ตีความทำนาย การแปลข้ามภาษาจะต้องคำนึงถึงความหมายทั่วๆไปมากกว่าการให้คำเหมือน
การวิเคราะห์ความหมาย คือ
1.             องค์ประกอบของความหมาย ภาษาแต่ละภาษามีระบบที่แสดงความหมาย คือ
1.1      คำศัพท์ ความหมายจะเปลี่ยนแปลงไปตามปริบท
1.2      ไวยากรณ์  ทำให้ประโยคมีความหมาย
1.3      เสียง นำเสียงมารวมเข้ากันอย่างเป็นระบบจนเกิดเป็นหน่วยที่มีความหมาย
2.             ความหมายและรูปแบบ
2.1      ในแต่ละภาษา ความหมายสามารถแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2.2      รูปแบบเดียวอาจมีหลายความหมาย
3.             ประเภทของความหมาย
3.1      ความหมายอ้างอิง หมายถึง ความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรง
3.2      ความหมายแปล หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง
3.3       ความหมายตามปริบท รูปแบบหนึ่งอาจมีหลายความหมายต้องพิจารณาจากปริบทแวดล้อม
3.4      ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบ
การเลือกบทแปล
เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล โดยคำนึงถึงผู้เรียนให้มีโอกาสตระหนักถึงข้อบกพร่องต่าง ๆ ของตนในการแปล
เรื่องที่จะแปล

เลือกว่าจะแปลสาขาใดที่จะทำให้คนมีความรู้ ความทันสมัย และควรมีคณะกรรมการแต่ละสาขาเป็นแกน เพื่อเป็นการกำจัดอุปสรรคความรู้ภาษาต่างประเทศที่ไม่ดีพอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น