วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 9 ในห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 9
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
Clause หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุประโยค ซึ่งหมายถึง กลุ่มคำที่มีทั้งภาคประธานและภาคแสดง โดยอนุประโยคจะเป็นส่วนหนึ่งของประโยคด้วย อนุประโยคบางชนิดสามารถอยู่ได้โดยลำพัง เช่น ประโยคความซ้อนหรือ simple sentence และในบางอนุประโยคก็ยังสามารถละคำบางคำในอนุประโยคนั้น ๆ ได้อีกด้วย เช่น The officer said, “Stop”. จากตัวอย่างประโยคนี้ทำให้ดิฉันเห็นว่า ประโยคดังกล่าวได้มีการละประธานคือคำว่า you จากการกล่าวถึง clause ข้างต้นนี้จะมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้ในห้องเรียน เพราะสิ่งที่ดิฉันเรียนคือเรื่อง adverb clause ซึ่งclause ที่กล่าวมานั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของ adverb clause และยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 clause คือ noun clause, adjective clause, และ adverb clause
       ในวันอังคารที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมาดิฉันได้เรียนเรื่อง Reduction of Time Clauses โดย  Time Clauses ในที่นี้ตามความเข้าใจของดิฉันมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า Adverb Clause of Time ซึ่งเป็นอนุประโยคที่เกี่ยวกับเวลาและเป็นอนุประโยคที่ดิฉันรวมทั้งผู้เรียนคนอื่น ๆ มักจะพบเห็นอยู่บ่อย ๆ ซึ่งก่อนที่ดิฉันจะเรียนเรื่องนี้ในวันอังคารที่ผ่านมา  ดิฉันได้ค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง Adverb Clause มาก่อนบ้างแล้ว โดยเนื้อหาที่ดิฉันได้ศึกษานั้นจะนำมาเขียนอธิบายเพิ่มเติมใน Learning Log ของสัปดาห์นี้ด้วย และยังเป็นการจดบันทึกความรู้เพื่อให้ดิฉันสามารถกลับมาอ่านทำความเข้าใจได้อีกครั้ง
จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่อง Adverb Clause ทำให้ดิฉันเข้าใจความหมายของ Adverb Clause ว่ามันคืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) และเป็นที่เข้าใจอยู่แล้วว่า คำกริยาวิเศษณ์ (adverb) นั้นจะขยายคำกริยา, คำคุณศัพท์, และคำกริยาวิเศษณ์หรือตัวมันเอง ซึ่ง Adverb Clause ก็ขยายคำเหล่านั้นเช่นกัน Adverb Clause อาจจะนำหน้าด้วย conjunctive adverb หรือ subordinate conjunction หรือคำสันธานที่นำมาเชื่อมระหว่างประโยคหลักและประโยครอง เช่น When we had finished our difficult task, we drove through the park. จากประโยคนี้จะมี conjunctive adverb คือคำว่า when หน้าประโยค adverb clause ซึ่งไปขยายกริยาในประโยคหลักคือ drove
จากการค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือและเว็บไซต์ต่าง ๆ ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้ประเภทของ Adverb Clause ในบางหนังสือหรือเว็บไซต์จะมี 8 ประเภทบ้าง 9 ประเภทบ้าง หรือ 10 ประเภทก็ยังพบเห็นอยู่ แต่หนังสือและเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะแบ่งประเภทของ Adverb Clause เป็น 9 ประเภท คือ Adverb Clause of Time, Adverb Clause of Place, Adverb Clause of Manner, Adverb Clause of Reason, Adverb Clause of Purpose, Adverb Clause of Concession, Adverb Clause of Comparison, Adverb Clause of Result, และ Adverb Clause of Condition โดยประเภททั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะแบ่งตามหน้าที่หรือลักษณะ
จากทั้ง 9 ประเภทข้างต้นดิฉันสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้ ประเภทที่หนึ่งคือ  Adverb Clause of Time หรืออนุประโยคที่บอกเกี่ยวกับเวลา Adverb Clause ประเภทนี้ดิฉันจะพบเห็นอยู่บ่อย ซึ่งเมื่อเห็นคำเชื่อมดังต่อไปนี้ when, before, after, since, as soon as, till, until, whenever ทำให้ดิฉันสันนิษฐานได้ว่าประโยคนั้นมี Adverb Clause of Time อยู่ในประโยคด้วย เช่น She will go when her father arrives. จากประโยคดังกล่าว ประโยค Adverb Clause of Time คือ when her father arrives. เพราะมี when อยู่ในประโยคและประโยค Adverb Clause of Time ดังกล่าวนั้นจะไปขยายคำกริยาคือ go ในประโยค main clause หรือประโยคหลัก
ประเภทที่สองคือ Adverb Clause of  Place หรืออนุประโยคที่บอกเกี่ยวกับสถานที่ Adverb Clause ประเภทนี้ก็สามารถพบเห็นบ่อยได้อีกเช่นกัน และเมื่อเห็นคำเชื่อม where และ wherever สามารถบอกได้ว่าประโยคนั้นอาจจะเป็นประโยค Adverb Clause of  Place เช่น She wants to go where you live. จากประโยคดังกล่าว ประโยค Adverb Clause of Place คือ where you live. เพราะจะเห็นว่ามี where อยู่ในประโยคและประโยค Adverb Clause of  Place ดังกล่าวนั้นจะไปขยายคำกริยาคือ go ในประโยค main clause หรือประโยคหลัก, ประเภทที่สามคือ Adverb Clause of  Manner หรืออนุประโยคที่บอกเกี่ยวกับกิริยาอาการ จะมีคำเชื่อมได้แก่ as, as if, as though เช่น You should practice English as she does. จากประโยค as she does.เป็น Adverb Clause of Manner ที่ทำหน้าที่ไปขยายกริยาแท้ในประโยคหลักคือ practice
ประเภทที่สี่คือ Adverb Clause of Reason หรืออนุประโยคที่บอกเกี่ยวกับเหตุผล อนุประโยคประเภทนี้ก็สามารถพบเห็นได้บ่อยอีกเช่นกัน โดยสามารถสังเกตได้จากคำเชื่อม ได้แก่ because, since, as, that เป็นต้น ซึ่งคำเชื่อมที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะมีความหมายคล้าย ๆ กัน เช่น She like him because he is a good man. จากตัวอย่างประโยคดังกล่าวประโยค  Adverb Clause of Reason คือ because he is a good man. เพราะมี because อยู่ในประโยคและประโยค Adverb Clause of Reason ดังกล่าวทำหน้าที่ไปขยายคำกริยาแท้ในประโยคหลักคือ like
ประเภทที่ห้าคือ Adverb Clause of  Purpose หรืออนุประโยคที่แสดงถึงวัตถุประสงค์ Adverb Clause ประเภทนี้ดิฉันก็พบเห็นบ่อยอีกเช่นกัน โดยสามารถสังเกตคำเชื่อมต่อไปนี้ได้คือ so that, in order that, for fear that, for the purpose that เช่น He is climbing higher so that he can get a better view. จากตัวอย่างประโยคดังกล่าวประโยค Adverb Clause of  Purpose คือ so that he can get a better view พราะจะมีคำว่า so that อยู่ในประโยคซึ่งเป็นการบอกถึงวัตถุประสงค์ที่เขาไปปีนเขาและยังไปขยายคำกริยาแท้ในประโยคหลักคือคำว่า climbing อีกด้วย
ประเภทที่หกคือ Adverb Clause of  Concession หรืออนุประโยคที่แสดงถึงความขัดแย้ง อนุประโยคประเภทนี้ดิฉันไม่ค่อยจะพบเห็นบ่อยนัก แต่เมื่อเห็นคำเชื่อมที่แสดงถึงความขัดแย้งเหล่านี้ เช่น  even if, even though, although เป็นต้น ก็สามารถคาดเดาได้ว่าประโยคนั้นอาจจะเป็น Adverb Clause of  Concession เช่น Although he tried hard, he was not successful. จากตัวอย่างประโยคจะมีคำเชื่อม “although” อยู่ในประโยค Adverb Clause of Concession ที่ทำหน้าที่ไปขยายประโยคหลักให้เกิดใจความที่มีความขัดแย้งกัน
ประเภทที่เจ็ดคือ Adverb Clause of  Comparison  หรืออนุประโยคที่แสดงถึงการเปรียบเทียบ อนุประโยคประเภทนี้ดิฉันก็พบเห็นบ่อยเช่นกัน เพราะอาจจะมีลักษณะที่คล้ายกับคำคุณศัพท์ (adjective) ซึ่งมีคำสันธานที่ใช้เชื่อมอนุประโยคที่แสดงถึงการเปรียบเทียบนั้น ได้แก่ as, so…as, such…as, than เช่น She is as tall as you are. , และ He is taller than his brother. จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นว่ามีคำสันธาน as…as และ than อยู่ในประโยค ซึ่งทำหน้าที่ขยายคำคุณศัพท์ในประโยคหลักทำให้มีความหมายเชิงเปรียบเทียบได้, ประเภทที่แปดคือ Adverb Clause of  Result หรืออนุประโยคที่แสดงถึงผลของการกระทำ อนุประโยคประเภทนี้ดิฉันไมค่อยจะพบเห็นบ่อยนัก ซึ่งดิฉันจะสังเกตจากคำเชื่อมดังนี้ so…that, such…that, so that เช่น He ran so fast that I could not catch him. จะเห็นว่ามีคำเชื่อมดังกล่าวอยู่ในประโยค
และประเภทที่เก้าคือ Adverb Clause of  Condition  หรืออนุประโยคที่แสดงถึงเงื่อนไขหรือการสมมติ อนุประโยคประเภทนี้อาจจะมีลักษณะที่คล้ายกับ If-Clause หรือประโยคเงื่อนไข โดยมีคำสันธานที่ใช้เชื่อมอนุประโยคที่แสดงถึงเงื่อนไขหรือการสมมตินี้ ได้แก่ if, on condition that, unless เช่น If you don’t write a letter to her, she will not understand something in details. จากตัวอย่างมีคำว่า if อยู่ในประโยคเป็นการแสดงเงื่อนไขของอนุประโยคนั้น ๆ และมีโครงสร้างประโยคที่คล้ายกับโครงสร้างประโยคของ If-Clause อีกด้วย
เมื่อได้เรียนรู้เพิ่มเติมแล้วทำให้ดิฉันเข้าใจรูปประโยคของ Adverb Clause ประเภทต่าง ๆ มากขึ้นและจากการเรียนรู้ในรายวิชา การแปล 1 ในวันอังคารที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมานั้น ที่ได้เรียนเรื่องการลดรูปของ Adverb Clause of Time สาเหตุที่อาจารย์ยกอนุประโยคประเภทนี้มา เพราะอนุประโยคประเภทนี้ง่ายต่อการเรียนรู้และผู้เรียนจะพบเห็นบ่อยมากที่สุด ซึ่งสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้คือ การลดรูปของ Adverb Clause of Time นั้นจะสามารถลดรูปได้ หากประธานของประโยคหลักและประโยครองเป็นประธานตัวเดียวกัน เช่น The seed is sown before it is watered.  จากตัวอย่างดังกล่าวในประโยคหลักมีประธานคือคำว่า the seed และในประโยครองมีประธานคือคำว่า it ซึ่งประธาน “it” ในประโยครองนั้นจะอ้างถึงประธานในประโยคหลักทำให้สามารถลดรูปประโยคได้ดังนี้ The seed is sown before being watered.
นอกจากนี้ยังสามารถลดรูปได้อีกหาก Adverb Clause of Time นั้นมีประธานในประโยคที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่นคำว่า we, people, scientists, nurse เป็นต้น เป็นประธานของประโยคจะสามารถลดรูปได้ เช่น When a nurse observes the patient, the ease and difficulty of breathing are noted. จากประโยคดังกล่าวมีประธานคือ a nurse ซึ่งจะสามารถลดรูปได้โดยการละประธานของประโยคและเปลี่ยนคำกริยาในประโยคเป็น present participle จะได้ประโยคดังนี้ When observing the patient, the ease and difficulty of breathing are noted.
Adverb Clause of Time สามารถลดรูปได้อีกแบบหนึ่งคือ ถ้าประธานของประโยคหลักเป็นคำนามและประธานของประโยครองเป็นคำสรรพนามจะสามารถลดรูปได้โดยการสลับที่ประธานในประโยครองมาไว้ในประโยคหลักและละประธานนั้นแล้วเปลี่ยนคำกริยาเป็น present participle เช่น After water is heated, it becomes hot. โดยสามารถสลับประธานของทั้งสองประโยคได้คือ After it is heated, water becomes hot. และสามารถลดรูปได้ดังนี้ After being heated, water becomes hot.
แต่ Adverb Clause of Time ที่ไม่สามารถลดรูปได้เช่น After John came, Mary left. จากตัวอย่างประโยคดังกล่าวที่ไม่สามารถลดรูปได้ เพราะประธานในประโยคหลักและประโยครองเป็นคนละตัวกันทำให้ไม่สามารถละประธานและลดรูปประโยคได้ และอีกอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถลดรูปได้คือ เมื่อการกระทำในประโยค Adverb Clause of Time ปรากฏ ณ เวลาในขณะนั้นและถูกทำให้มีใจความสมบูรณ์จะไม่สามารถลดรูปประโยคได้ เช่น He has lived here since he was born. จากตัวอย่างประโยคดังกล่าวจะไม่สามารถลดรูปได้ เพราะประโยคมีใจความสมบูรณ์แล้ว
จากใบความรู้การลดรูปของ Adverb Clause of Time สามารถลดรูปได้คือ Adverb Clause of Time ที่ขึ้นต้นด้วย after, before หรือ since เมื่อต้องการจะลดรูปสามารถทำได้ดังนี้คือ ละประธานในประโยค Adverb Clause of Time ซึ่งจะต้องเป็นประธานตัวเดียวกัน จากนั้นให้ละกริยาช่วยในประโยค Adverb Clause of Time และเปลี่ยนคำกริยาเป็น Verb –ing เมื่อกริยาในประโยค Adverb Clause of Time แสดงถึงการกระทำ เช่น After he finished high school, he continued his studies for bachelor degree. ประโยคดังกล่าวมีประธานคือ he ซึ่งเป็นประธานเดียวกันทั้งสองประโยคจึงสามารถลดรูปได้คือ After finishing high school, he continued his studies for bachelor degree.
แต่ถ้ากริยาในประโยค Adverb Clause of Time อยู่ในรูปของ present หรือ past participle หรือกริยาช่วย เช่น have, has, หรือ had ให้เปลี่ยนกริยาเหล่านั้นเป็น having และตามด้วย past participle หากประโยคนั้นเป็นผู้กระทำ และถ้ากริยาอยู่ในรูป passive ให้เปลี่ยนเป็น being + past participle เช่น After he had finished high school, he continued his studies for bachelor degree. จากประโยคดังกล่าวจะมี had อยู่ในประโยคให้เปลี่ยน had เป็น having จะได้ประโยคดังนี้ After he having finished high school, he continued his studies for bachelor degree. และเมื่อเปลี่ยนกริยาช่วยแล้วสามารถลดรูปได้โดยการละประธาน ซึ่งจะได้ประโยคดังนี้ After having finished high school, he continued his studies for bachelor degree. และสามารถลดรูปได้อีกคือ After finishing high school, he continued his studies for bachelor degree.
นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังสำหรับการใช้ after, before, หรือ since ที่ตามด้วย verb –ing สำหรับโครงสร้างของประโยค active และ passive ซึ่งไม่สามารถตามด้วย verb –ed ได้ เช่น The seed is sown before it is watered. สามารถลดรูปได้โดยการเปลี่ยนกริยาเป็น verb –ing จะได้ประโยคดังนี้ The seed is sown before being watered. และข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งคือคำว่า “Prior to” สามารถใช้แทน “before” ในการลดรูปได้ เช่น Before the seedling manufacture food for itself, it uses up the food stored in the seed. สามารถใช้ “Prior to” แทนได้คือ {Before/ Prior to} the seedling manufacture food for itself, it uses up the food stored in the seed.
จากคำอธิบายและตัวอย่างข้างต้นสามารถสรุปได้คือ Adverb Clause of Time ที่ขึ้นต้นด้วย after, before, หรือ since สามารถลดรูปด้วย verb –ing ได้เสมอหากประโยคเหล่านั้นเป็นประโยค active หรือ passive และ Adverb Clause of Time ที่ขึ้นต้นด้วย once และ until การลดรูปแบบนี้จะไม่เหมือนกับการลดรูปที่ขึ้นด้วย after, before, หรือ since เพราะ once และ until จะตามด้วย verb –ed นั่นคือกริยาใน Adverb Clause of Time ที่อยู่ในรูป passive voice สามารถลดรูปได้เลย
จากการเรียนรู้ในห้องเรียนที่อาจารย์ผู้สอนนั้นให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มกันทำความเข้าใจเนื้อหาทำให้ดิฉันได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่ม จากการศึกษาด้วยตนเองนี้ทำให้มีความเข้าใจในเรื่องการลดรูปมากขึ้น ทราบขั้นตอนการลดรูปในแบบต่างๆ และยังเป็นการฝึกทำงานกลุ่มที่ต้องช่วยเหลือกัน และเนื้อหาที่ได้ศึกษาเพิ่มเติมนั้นดิฉันก็พยายามทำความเข้าใจมาก่อนที่จะเรียนและก่อนที่จะนำมาเขียนลงใน Learning Log ของสัปดาห์นี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น