วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log 6 ในห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 6
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
ประโยค (Sentences) หมายถึง กลุ่มคำหรือข้อความที่กล่าวออกมาแล้วมีใจความสมบูรณ์ ประโยคจะประกอบด้วยส่วนใหญ่ 2 ส่วน คือ ภาคประธาน (Subject) และภาคแสดง (Predicate) โดยประโยคนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ Simple Sentence (ประโยคความเดียว), Compound Sentence (ประโยคความรวม), Complex  Sentence (ประโยคความซ้อน), และ Compound-Complex  Sentence (ประโยคความผสม) ซึ่งแต่ละประเภทของประโยคต่าง ๆ นั้นสามารถแยกย่อยได้อีกหลายรูปแบบ ในที่นี้ดิฉันจะขออธิบายเกี่ยวกับ Complex  Sentence (ประโยคความซ้อน) ที่สามารถแบ่งย่อยได้ 3 ชนิด แต่ดิฉันจะขออธิบายเพิ่มเติมเพียง Adjective Clause (คุณานุประโยค)

    Adjective Clause (คุณานุประโยค) คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายนามหรือขยายคำเสมอนามได้เช่นเดียวกับ Adjective ธรรมดา แต่การขยายด้วย Adjective Clause จะทำให้ข้อความนั้นหนักแน่น และเด่นชัดขึ้นว่าการขยายด้วย Adjective ธรรมดา ปกติแล้ว Adjective Clause จะนำหน้าด้วย คำเชื่อมสัมพันธ์ (Relative Words)”  ซึ่งได้แก่คำต่อไปนี้คือ Relative Pronoun ได้แก่ who, whom, whose, which, of which, that us, but และ Relative Adverb ได้แก่ when, why, where เช่น The man who came here this morning is my brother. (who came here this morning เป็น Adjective Clause ไปขยาย man)
หลักการใช้คำเชื่อมสัมพันธ์ (Relative Words) มีดังต่อไปนี้ คำแรก คือ who ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่ยวกับคนซึ่งเป็นประธานของใจความขยาย หมายความว่า who ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคลกับอนุประโยคที่ใช้ขยายหรือแสดงลักษณะของนามหรือสรรพนามตัวนั้น เช่น He is the man who can play football very well. คำที่สอง คือ whom ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคลหรือเกี่ยวกับคนซึ่งเป็นกรรมของใจความขยาย หมายความว่า whom ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคลซึ่งเป็นกรรมของอนุประโยคที่ขยาย เช่น She is a good girl whom he wants to marry. คำที่สาม คือ whose ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของบุคคล หมายความว่า whose ใช้เชื่อมคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นบุคคลซึ่งวางอยู่ข้างหน้า เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของแทนคำนามหรือคำสรรพนามที่ขยาย เช่น The boy whose father is in prison is very intelligent.
คำที่สี่ คือ which ใช้กับคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นสิ่งของ สัตว์ ซึ่งหากเป็นกรรมของใจความขยายก็สามารถละทิ้งได้ เช่น The basket which is on the table is full of rambutans. คำที่ห้า คือ where ใช้กับคำนามประเภทสถานที่ ซึ่งถ้าหากเป็นกรรมของใจความขยายก็สามารถละทิ้งได้เช่นกัน เช่น This is the place where is mortgaged. คำที่หก คือ when ใช้กับคำนามที่บอกเวลา เช่น She does not know the time when her friend leaves for Canada tomorrow. คำที่เจ็ด คือ why ใช้ขยายคำนามที่มีความหมายถึงสาเหตุ เหตุผล คำอธิบาย ซึ่งวางอยู่ข้างหน้า เช่น I would like to know the reason why you are always late. และคำที่แปด คือ that ใช้กับคำนามที่เป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สามารถใช้แทน who, whom, where, which ก็ได้ เช่น The robbers that robbed the bank last week are arrested.
นอกจากนี้การใช้ that ในลักษณะพิเศษหรือนอกเหนือจากกฎทั่วไป คือ ประการแรกใช้กับ       สรรพนามที่ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง (Indefinite Pronouns) ซึ่งได้แก่ everyone, everybody, everything, someone, somebody, something, anybody, anything, no one, nobody, nothing เช่น Everyone that once sees Arpassara will be charmed by her beauty., Everything that you have seen in my house is precious. และประการที่สองนิยมใช้กับนามวลีที่มีโครงสร้างการเปรียบเทียบขั้นสูงสุดและคุณศัพท์แสดงลำดับที่ เช่น Kanyarat is the most beautiful film star that I have seen., Preecha was the second student that reached the school yesterday.
การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในประโยค Adjective Clause (Punctuation of Adjective Clause) สำหรับการใช้เครื่องหมายวรรคตอนในประโยค Adjective Clause คือ ประการแรก อย่าใส่ (,) หรือเครื่องหมายจุลภาค ถ้า Adjective Clause นั้นจำเป็นต้องไปขยายนามตัวนั้น ๆ โดยตรง คือ จำเป็นต้องขยายนามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และประการที่สอง ให้ใส่ (,) หรือเครื่องหมายจุลภาค ถ้า Adjective Clause นั้นให้ข้อมูลเพิ่มเติม แต่ไม่จำเป็นต้องไปขยายนาม คือ จะละ Adjective Clause ก็เข้าใจได้ เช่น The man who teaches English literature is my brother. , Mahasarakham, which consists of ten districts, is in the northeast of Thailand.
การละคำนำหน้าของ Adjective Clause ได้แก่คำว่า who, whom, which, that สามารถละได้ในกรณีต่อไปนี้ กรณีที่หนึ่งคือ เมื่อทำหน้าที่เป็น direct object ใน defining clause เช่น The dress (which) I like is now on sale. จากประโยคจะเห็นได้ว่า which ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา like ใน Adjective Clause ที่มาขยายคำนาม the dress ใน Main Clause คือ The dress is now on sale. และกรณีที่สอง คือ เมื่อทำหน้าที่เป็น object of a preposition ใน defining clause เช่น The person with whom I talked about my study problem is a new director of the school. จากประโยคดังกล่าวจะเห็นได้ว่า whom ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบท with ใน Adjective Clause ที่มาขยายคำนาม the person ใน Main Clause คือ The person is a new director of the school. ประโยคนี้ละ whom ได้ โดยเมื่อละ whom แล้วบุพบท with ต้องอยู่ท้าย Adjective Clause นั้น ดังนี้ The person  (whom)  I talked about my study problem is a new director of the school. 
การลดรูป Adjective Clause คือ คำนำหน้า "who", "which", และ "that" ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ Adjective Clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่าง ๆ ได้ โดยเมื่อลดรูปแล้วจะกลายเป็นกลุ่มคำนาม ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่ง คือ Appositive Noun Phrase : adjective clause ซึ่งมี who, which และ that เป็นประธานสามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มี BE และให้ตัด BE ออก เมื่อลดรูปแล้วจะเป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า appositive เช่น ประโยคที่ใช้ Adjective Clause คือ Prof. Chakarin, who is my thesis adviser, will retire next year. และเมื่อลดรูปเป็น Appositive Noun Phrase คือ Prof. Chakarin, who is my thesis adviser, will retire next year. จะได้ประโยคดังนี้ Prof. Chakarin, my thesis adviser, will retire next year.
กลุ่มที่สอง คือ Prepositional Phrase : adjective clause ที่มี "who", "which", และ "that"  เป็นประธานสามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มีคำกริยาและบุพบท ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่บุพบทยังมีความหมายเหมือนเดิมให้ตัดคำกริยาออกได้ เมื่อลดรูปแล้วจะเป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า prepositional phrase เช่น ประโยคที่ใช้ Adjective Clause คือ The football player who came from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand. และเมื่อลดรูปเป็น Prepositional Phrase คือ The football player who came from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand. จะได้ประโยคดังนี้ The football player from Brazil received a warm welcome from his fans in Thailand.  ในที่นี้ came from Brazil มีความหมายเหมือน from Brazil
กลุ่มที่สาม คือ Infinitive Phrase: adjective clause ที่มี "who", "which", และ "that"  สามารถลดรูปได้ หาก-ข้างหลังมีกริยาในรูป BE +  infinitive with to เมื่อลดรูปแล้วเป็นกลุ่มคำนามที่เรียกว่า Infinitive Phrase เช่น ประโยคที่ใช้ Adjective Clause คือ The researcher did not provide the specific statistics that can be used to test the hypothesis. เมื่อลดรูปเป็น Infinitive Phrase  คือ The researcher did not provide the specific statistics that can be used to test the hypothesis. และ The researcher did not provide the specific statistics used to test the hypothesis. จะได้ประโยคดังนี้ The researcher did not provide the specific statistics to test the hypothesis. 
และกลุ่มที่สี่ คือ Participial Phrase ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มย่อยที่หนึ่ง Present Participial Phrase : adjective clause ซึงมี who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ ลดรูปโดยการตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น Present Participial เช่น  ประโยคที่ใช้ Adjective Clause คือ The earthquake victims who had been saved by the rescue team were sent to hospital immediately. เมื่อลดรูปเป็น Present Participial Phrase คือ The earthquake victims who had been saved by the rescue team were sent to hospital immediately. จะได้ประดยคดังนี้ The earthquake victims having been saved by the rescue team were sent to hospital immediately.
 และกลุ่มย่อยที่สอง คือ Past Participial Phrase : adjective clause ซึ่งมี which และ who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้ หากหลัง which และ who มีกริยาในรูป passive form (BE + past participle) ลดรูปโดยตัด which/who และ BE ออก เหลือแต่ past participle เช่น ประโยคที่ใช้ Adjective Clause คือ His father, who was sent by his company to New Zealand, developed lung cancer. เมื่อลดรูปเป็น Past Participial Phrase คือ His father, who was sent by his company to New Zealand, developed lung cancer. จะได้ประโยคดังนี้ His father,sent by his company to New Zealand, developed lung cancer.
Adjective Clause หรือคุณานุประโยคเป็นอนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายนาม ซึ่งเมื่อนำ Adjective Clause มาขยายนามในประโยคจำทำให้ประโยคนั้นมีความหมายชัดเจนขึ้น และคำเชื่อมสัมพันธ์ (Relative Words) แต่ละตัวนั้นมีหลักการใช้ที่แตกต่างกัน เมื่อได้ศึกษาอย่างละเอียดแล้วทำให้ดิฉันมีความเข้าใจและสามารถนำคำเชื่อมสัมพันธ์แต่ละตัวมาใช้ในการขยายนามได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ดิฉันยังสามารถลดรูป Adjective Clause เป็น Adjective Phrase ได้อย่างถูกต้องและมีความแม่นยำในการลดรูปมากขึ้น 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น