วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างพื้นฐานของประโยค

สิ่งที่ได้เรียนรู้
โครงสร้างพื้นฐานของประโยค
            โครงสร้างประโยคในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษนั้นมีความแตกต่างกัน ในภาษาไทยโครงสร้างประโยคจะประกอบด้วย ประธาน, กริยา, และกรรม หรืออาจจะมีส่วนขยายประธานหรือส่วนขยายประโยคเพื่อทำให้ประโยคนั้นมีความหมายสมบูรณ์มากขึ้น ส่วนโครงสร้างในภาษาอังกฤษนั้นมีความหลากหลายมากกว่าโครงสร้างในภาษาไทย เพราะสามารถเลือกใช้ชนิดของคำต่าง ๆ ได้และมีหลักการกระจายโครงสร้างที่หลากหลายเพื่อให้การเขียนหรือแยกโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษนั้นง่ายขึ้น
            ประโยคที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานนี้หมายถึงประโยคที่ประกอบด้วยตัวประโยคลุ่น ๆ มีคำน้อย ใช้คำเฉพาะแต่ที่จำเป็นในแต่ละแบบ แต่มีใจความสมบูรณ์ ถูกต้องตามหลักภาษา สื่อความหมายอย่างตรงไปตรงมา แต่อาจจะขาดความไพเราะ ไม่มีความสละสลวย ไม่ได้รสชาติหรืออรรถรส หรือรายละเอียดตรงตามความตั้งใจของผู้แต่งประโยคไปบ้าง เมื่อนำคำ วลี หรือข้อความที่เหมาะสมมาประกอบในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วจึงจะได้ความสละสลวยหรือซับซ้อนตามความประสงค์ของผู้แต่ง
            ประโยคในภาษาอังกฤษไม่ว่าจะยาวหรือมีความซับซ้อนอย่างไรสามารถกระจายออกเป็นรูปโครงสร้างพื้นฐานได้ กล่าวคือ ประโยคต่าง ๆ มาจากประโยคพื้นฐานที่เรียกว่า basic sentence บางคนอาจเรียกว่า bare sentence (ประโยคเปลือย) หรือบางคนเรียกว่า kernel sentence (ประโยคแก่น)  แล้วแต่จะเรียกอย่างไร ในการแปลประโยคที่ซับซ้อนหรือที่เรียกว่า ประโยคโครงสร้างลึกนั้น ถ้าแยกข้อความออกเป็นหน่วยประโยคที่สั้นหรือเล็กที่สุดตามลักษณะของประโยคโครงสร้างพื้นฐานแต่ละแบบแล้วจะช่วยให้การวิเคราะห์ความหมายประโยคได้ดีขึ้น
            ฮอร์นบีและคณะได้แยกประโยคพื้นฐานไว้ใน The Advanced Learner’s Dictionary of Current English ไว้ 25 แบบ โดยถือตามหน้าที่และความนิยมในการใช้คำกริยาเป็นหลัก เรียกว่า กระสวนหรือแบบของคำกริยา (verb pattern) ส่วนไนดาและเทเบอร์ได้แยกประโยคพื้นฐานของภาษาอังกฤษไว้ 7 แบบ โดยเรียกประโยคพื้นฐานว่า ประโยคแก่น (kernel pattern) และสเตจเบอร์ก (Stageberg) ได้แยกประโยคพื้นฐานที่เรียกว่า ประโยคเปลือย หรือ bare sentence ออกเป็น 9 แบบ ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างประโยคพื้นฐานของฮอร์นบีและของไนดา
            ตัวอย่างประโยคพื้นฐานของฮอร์นบีและของไนดา แบ่งแบบของคำกริยาออกเป็น 25 แบบ ดังนี้ แบบของคำกริยาแบบที่ 1 คือ Vb + Direct Object เช่น He cut his finger., He does not like cold weather., She smiled her thanks. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 2 คือ Vb + (not) to + Infinitive, etc. เช่น He wants to go., They decided not to go., He presented  not to see me. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 3 คือ Vb + Noun or Pronoun + (not) to + Infinitive, etc. เช่น He wants me to be early., I told the servant to open the window.
               ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 4 คือ Vb + Noun or Pronoun + (to be) + Complement เช่น They believed him (to be) innocent., I consider it (to be) a shame. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 5 คือ Vb + Noun or Pronoun + Infinitive, etc. เช่น I made him do it., They have never known him behave so badly. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 6 คือ Vb + Noun or Pronoun + Present participle เช่น I found him working at his desk., We watched the train leaving the station.
            ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 7 คือ Vb + Object + Adjective เช่น Don’t get your clothes dirty., The sun keeps us warm., Get yourself ready. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 8 คือ Vb + Object + Noun เช่น  They elected him king., We call the dog “Spot”., They called them cowards. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 9 คือ Vb + Object + Past Participle เช่น You must get your hair cut., She had a new dress made., King Charles I had his head cut off.
            ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 10 คือ Vb + Object + Adverb or Adverbial Phrase, etc. เช่น Put it here., They treat their sister as if she were only a servant. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 11 คือ Vb + that-clause เช่น I hope (that) you will come., He explained that nothing could be done. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 12 คือ Vb + Noun or Pronoun + that-clause เช่น I told the man (that) he was mistake., Please remind him that he must be here early.
            ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 13 คือ Vb + Conjunctive + to + Infinitive, etc. เช่น I wonder how to do it., He is learning how to swim. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 14 คือ Vb + Noun or Pronoun + Conjunctive + to + Infinitive, etc. เช่น We showed him how to do it., The patterns show you how to make sentence. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 15 คือ Vb + Conjunctive + Clause เช่น I wonder why he has not come., I wonder whether (or if) he will come.
             ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 16 คือ Vb + Noun or Pronoun + Conjunctive + Clause เช่น Tell me what it is., Please advise me whether these seeds should be sown now. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 17 คือ Vb + Gerund, etc. เช่น He enjoys playing tennis., He keeps on coming here. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 18 คือ Vb + Direct Object + Preposition + Prepositional Object เช่น They told the news to everybody they met., We showed the pictures to our teachers.
            ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 19 คือ Vb + Indirect Object + Direct Object เช่น Our teacher gave us an English lesson., The pupils wished their teacher Good morning. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 20 คือ Vb + (for) + Complement of Distance, Time, Price, etc. เช่น The forests stretched (for) miles and miles., We waited (for) two hours. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 21 คือ Vb alone เช่น We all breathe, eat, and drink., The sun was shining., Fire burns.
            ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 22 คือ Vb + Predicative เช่น This is a book., This book is mine. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 23 คือ Vb + Adverbial Adjunct เช่น The sun rises in the east., He will come as soon as he is ready. ต่อมา แบบของคำกริยาแบบที่ 24 คือ Vb + Preposition + Prepositional Object เช่น  He called on me., I will arrange for transport. และ แบบของคำกริยาแบบที่ 25 คือ Vb + to Infinitive เช่น We stopped to have a rest., I am waiting to hear your opinion.
            ในส่วนของแบบประโยคพื้นฐานของไนดา ประโยคพื้นฐาน kernel sentence ของไนดามี 7 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 คือ Noun + Verb1 เช่น John ran quickly., แบบที่ 2 คือ Noun + Verb2 + Noun เช่น John hit Bill., แบบที่ 3  คือ Noun + Verb3 + Noun + Noun เช่น John gives Bill a ball., แบบที่ 4 คือ Noun + Verb4 + Preposition + Noun เช่น John is in the house., แบบที่ 5 คือ Noun + Verb4 + Adjective เช่น The boy is sick., แบบที่ 6 คือ Noun + Verb4 + Indefinite article + Noun เช่น John is a boy. และแบบที่ 7 คือ Noun + Verb4 + Definite article + Noun เช่น John is my father.
            จากแบบประโยคพื้นฐานข้างต้นจะเห็นว่า Noun ที่อยู่หน้า Verb1 เป็นประธานของประโยค, Noun ที่อยู่หลัง Verb2 เป็นกรรม, Noun ที่อยู่หลัง Verb3 คำแรกเป็นกรรมรอง คำหลังเป็นกรรมตรง ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างประโยคที่ 3 a ball เป็นกรรมตรง Bill เป็นกรรมรอง, และ Verb1 Verb2 Verb3 Verb4 หมายถึงคำกริยาประเภทต่าง ๆ

            การแปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งนั้นถ้าผู้แปลมีความสามารถ มีความรู้ดีทั้งสองภาษา การตีความหรือวิเคราะห์ความหมายของประโยคจะทำได้อย่างรวดเร็ว ส่วนผู้ที่ยังไม่ค่อยชำนาญ การแยกประโยคที่ซับซ้อนเป็นประโยคพื้นฐานจะช่วยได้มากอย่างเช่นดิฉัน เมื่อดิฉันได้ศึกษาเรียนรู้แบบประโยคพื้นฐานต่าง ๆ แล้วทำให้ดิฉันตีความหรือวิเคราะห์ความหมายของประโยคได้ถูกต้องมากขึ้น และช่วยให้การแปลเรื่องต่าง ๆ นั้นสะดวกและง่ายขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น