Learning
Log
ครั้งที่
7
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
ในปัจจุบันนี้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีความสำคัญและเป็นภาษากลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับประเทศต่างๆยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการเปิดสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) อย่างเสรีทำให้ประเทศสมาชิกสามารถเดินทางไปยังประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง
ในการพูดภาษาอังกฤษ
หากพูดผิดหลักไวยากรณ์ก็ยังนับว่าสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้
แต่หากผู้พูดไม่รู้คำศัพท์และความหมายก็จะไม่สามารถสื่อสารได้และการแปลความหมายของประโยคก็มีความสำคัญในการสื่อสาร
ดิฉันจึงทำการทดสอบความรู้ของตนเองด้วย www.vocabularysize.com และเรียนรู้แต่ละประเภทของ If-Clauses
จากหัวข้อ “ You know at least 1,300 English
word families! ” จะเห็นว่ามีคำว่า “ word families ” ในประโยค
ดิฉันจึงได้ค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำศัพท์ดังกล่าวและสิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ word
families จะมีความเกี่ยวข้องกันในทางไวยากรณ์และในทางความหมาย ในทางไวยากรณ์ คือ คำนาม (Noun) คำกริยา (Verb) คำคุณศัพท์ (Adjective) คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ที่มีความเกี่ยวข้องกันในทางไวยากรณ์หรืออาจจะเป็นคำที่มีอยู่เดิมแล้ว
เช่น cat, love, black, fast หรืออาจจะเป็นคำที่เกิดจากการเติมส่วนประกอบเข้าไปข้างหน้าหรือข้างหลังคำจนเกิดเป็นคำใหม่ที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม, คำกริยา, คำคุณศัพท์, หรือคำกริยาวิเศษณ์ขึ้นมานั้นคือ
Prefix และ Suffix
Prefix คือ ส่วนที่เติมข้างหน้าคำหลัก (Root) มีความหมายในตัวเองและเมื่อเติมจะทำให้ความหมายของคำศัพท์เปลี่ยนไป
เช่น true แปลว่า ที่เป็นความจริง เมื่อเติม Prefix –
un ซึ่งแปลว่า ไม่ ทำให้ได้คำศัพท์ใหม่คือ untrue ซึ่งมีความหมายใหม่ว่า ที่ไม่เป็นความจริง
ส่วนประเภทของคำยังคงเหมือนเดิมคือเป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) และ Suffix คือ ส่วนที่เติมข้างหลังคำหลัก (Root)
และเมื่อเติม Suffix จะทำให้ความหมายของคำศัพท์นั้นเปลี่ยนไป
เช่น true แปลว่า ที่เป็นความจริง เมื่อเติม Suffix –
ly ทำให้ได้คำศัพท์ใหม่คือ truly
ซึ่งมีหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) แต่จะมีวิธีการใช้ประโยคที่ต่างกันออกไปและความหมายยังคงเหมือนเดิม สำหรับความเกี่ยวข้องกันในทางความหมาย คือ
คำที่มีความหมายเหมือนหรือคล้ายกัน (Synonym) และคำที่ทีความหมายตรงข้ามกัน
(Antonym) เมื่อศึกษาคำประเภทนี้จะทำให้สามารถอ่านสิ่งต่าง ๆ
ได้รวดเร็วและเข้าใจได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามเมื่อหาคำประเภทนี้จากพจนานุกรมหรืออินเตอร์เน็ตจะต้องศึกษาข้อแตกต่างในการใช้คำแต่ละคำให้ละเอียดลึกซึ้ง
ตัวอย่างคำที่มีความหมายเหมือนหรือคล้ายกัน (Synonym) เช่น คำแรก
คือ Confuse (v.) Synonym
for Confuse (v.) คือ
1. ในความหมาย mix up with ได้แก่ take for, mistake for, muddle with และ 2. ในความหมาย bewilder ได้แก่ puzzle,
baffle, perplex, mystify, fluster, faze, flummox, bemuse
และคำที่สองคือ Confusion (n.) Synonym
for Confusion (n.) คือ 1. ในความหมาย bewilderment
ได้แก่ doubt, uncertainty, puzzlement , perplexity, mystification, bafflement, perturbation และ
2. ในความหมาย disorder ได้แก่ chaos,
turmoil, upheaval, muddle, bustle, shambles,
disarray, commotion, disorganization และอีกคำหนึ่ง คือ Confusing
(adj.) Synonym for Confusing (adj.) คือ ในความหมาย bewildering
ได้แก่ complicated, puzzling, misleading, unclear, baffling, muddling,
contradictory, ambiguous, inconsistent, perplexing, clear as mud (informal)
จากการศึกษา คำที่มีความหมายเหมือนหรือคล้ายกัน
(Synonym) อย่างละเอียดดังตัวอย่าง ช่วยให้ดิฉันได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคำศัพท์
คือ ได้เรียนรู้ความหมายที่หลากหลายของคำและเรียนรู้คำที่ใช้ใน Part of speech เดียวกัน เช่น confuse =
bewilder เป็นคำกริยา (v.) , confusing = bewildering เป็นคำคุณศัพท์
(adj.) , confusion = bewilderment เป็นคำนาม
(n.) และได้เรียนรู้การใช้ภาษาในแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
เช่น confusing = clear as mud ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่เป็นทางการ และสำหรับการศึกษาคำที่มีความหมายตรงข้ามกัน (Antonym)
นั้นก็สามารถทำได้ในลักษณะเดียวกันกับคำที่มีความหมายเหมือนหรือคล้ายกัน (Synonym)
และจาก 4 ข้อย่อยที่กล่าวมาข้างต้น
สามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้ ข้อที่หนึ่ง คือ What do my results mean? คือ โดยทั่วไปแล้วไม่มีคำศัพท์จำนวนน้อยที่สุด ความสามารถทางภาษามีความสัมพันธ์กับจำนวนของคำศัพท์
ดังนั้น ถ้ารู้คำศัพท์มากก็จะสามารถเข้าใจคำศัพท์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม
ถ้าจะกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้นั้น การวิจัยของ Paul Nation ในปี ค.ศ.2006 ชี้ให้เห็นว่าจำนวนของคำศัพท์ดังต่อไปนี้อาจจะมีประโยชน์
คือ ในทักษะการอ่าน ควรจะรู้ประมาณ 8,000-9,000
คำ , ทักษะการฟัง ประมาณ 6,000-7,000 คำ และเจ้าของภาษา ประมาณ 20,000
คำ ส่วนในข้อที่สองคือ What is a word family? ซึ่งดิฉันได้อธิบายอย่างละเอียดแล้วดังข้างต้น
สำหรับในข้อที่สาม คือ Where are the answers? คือ
การทดสอบจำนวนคำศัพท์ในภาษาอังกฤษถูกออกแบบมาเพื่อประเมินจำนวนของคำศัพท์ที่รู้และไม่รู้ในแต่ละคำ
ในการทดสอบคำศัพท์ทั้งหมด 100
คำนั้นเป็นเพียงการเรียนรู้คำศัพท์เพียงคำเดียวจากการทดสอบ
ซึ่งไม่สามารถเพิ่มจำนวนของคำศัพท์จาก 100 คำได้จริง ดังนั้น
อาจไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความหมายของคำที่เฉพาะเจาะจงที่พบในการทดสอบ แต่ควรจะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มจำนวนคำศัพท์มากกว่า
และข้อที่สี่ คือ How can I
improve my vocabulary? คือ คำแนะนำที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการพัฒนาคำศัพท์
ปกติจะอ่านมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ขณะที่จะช่วยให้รู้คำศัพท์มากกว่าที่รู้อยู่แล้ว
เป็นไปได้น้อยที่จะประสบกับคำใหม่โดยบังเอิญ เมื่อได้อ่านและเป็นการท้าทายตนเองกับสื่อที่อ่านยาก
เมื่อเจอคำใหม่ก็ยังไม่น่าจะเป็นไปได้ว่าจะอ่านอีกครั้งโดยบังเอิญ
ดังนั้น หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยพัฒนาคำศัพท์ให้ดีขึ้น
คือ การทำรายการของคำและการศึกษาคำนั้น ๆ และยังมีอีกหลายหลายวิธีที่สามารถทำได้เช่นกัน
คือ จากการใช้กระดาษแล้วไปสู่การใช้โทรศัพท์แบบทันสมัย และมีเว็บไซต์ที่หลากหลายที่สามารถช่วยได้ เราได้สร้างโปรแกรมอย่างง่ายซึ่งจะค่อย
ๆ เพิ่มความยากในขณะที่ฝึกและยังช่วยให้ได้เรียนรู้ความหมายของคำที่พบบ่อยมากอย่างหลากหลาย
โปรแกรมนี้จะใช้เหมือนกันกับ word family ซึ่งใช้ในการสร้างการทดสอบจำนวนของคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
ดังนั้น จึงอาจช่วยให้ในการพัฒนาและปรับปรุงคะแนนในการทดสอบจำนวนของคำศัพท์
และอีกเรื่องที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน คือ If - Clause บางคนก็เรียก “ประโยคเงื่อนไข” บ้าง หรือ “ประโยคสมมุติ” บ้าง
ซึ่งประโยคเงื่อนไข (conditional sentence) จะประกอบด้วย 2
ส่วน คือ ส่วนที่เป็น if-clause และส่วนที่เป็น
main clause โดยทั่วไปประโยคในภาษาอังกฤษจะแบ่งออกเป็น 3
แบบใหญ่ ๆ คือ แบบที่ 1 คือ If +
present tense verb, will/may/can + V. : ประโยคเงื่อนไขในอนาคต ,
แบบที่ 2 คือ If + past tense verb,
would/might/could + V. : ประโยคสมมุติในปัจจุบัน และแบบที่ 3
คือ If + past perfect tense verb, would have + V-ed : ประโยคสมมุติในอดีต
จากประโยคเงื่อนไข (conditional sentence) ทั้ง 3
ประเภทสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ดังนี้ If Clause Type I : ประโยคเงื่อนไขในอนาคต คือ If + present tense verb, will/may/can
+ V. เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากเงื่อนไขที่กำหนดไว้เป็นจริง
(ยังมีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต) เช่น If
your documents are in order, you may/can leave at once. , If Clause Type II : ประโยคสมมุติในปัจจุบัน คือ If + past tense verb,
would/might/could + V. เป็นประโยคสมมุติเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับเหตุการณ์จริงในปัจจุบัน
เช่น If there were no police car in front of us, I wouldn’t be driving
so slowly right now. , และ If Clause Type III : ประโยคสมมุติในอดีต คือ If + past perfect tense verb, would have
+ V-ed เป็นประโยคสมมุติเหตุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในอดีต เช่น If
I had studies a little harder, I would have done well on yesterday’s test.
ในการแปลประโยคเงื่อนไขในภาษาไทย ผู้แปลจะต้องวิเคราะห์ความหมายของประโยคให้ดีว่าเป็นเงื่อนไขแบบใด
และเลือกใช้รูปแบบในภาษาอังกฤษให้เหมาะสม เช่น
ถ้าคุณบินชั้นประหยัดไปยังสหรัฐอเมริกากับสายการบินของเราในเดือนนี้คุณจะได้รับส่วนลดพิเศษ
30% =
If you fly economy class to
the US with our airline this month, you will get a special 30% discount. , ถ้ากรุงเทพมหานครมีระบบขนส่งมวลชนที่ดี
ปัญหาจราจรก็คงไม่วิกฤตเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ = If Bangkok had a better
public transportation system, the traffic problem would not be this critical.
ในการพูดภาษาอังกฤษนั้นจะต้องรู้คำศัพท์ที่หลากหลายและรู้ Part of Speech ของแต่ละคำเพื่อที่จะใช้ในการสื่อสารกันอย่างเข้าใจ และดิฉันจะนำวิธีที่ได้กล่าวมาข้างต้นมาใช้ในการเพิ่มจำนวนคำศัพท์ของตนเองและหมั่นฝึกฝนคำศัพท์และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ
เมื่อสามารถพูดภาษาอังกฤษได้แล้วก็ต้องแปลความหมายของประโยคได้เช่นกัน ซึ่ง If
– Clause หรือประโยคเงื่อนไขก็อาจจะปรากฏอยู่ในประโยคได้ ดังนั้น
ดิฉันจึงทำความเข้าใจประเภทของ If – Clause อย่างละเอียดเพื่อสามารถนำไปสนทนาและแปลความหมายในการใช้ชีวิตประจำวันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น