Learning
Log
ครั้งที่
8
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
ประโยคในภาษาอังกฤษนั้นมีหลายประเภท
ไม่ว่าจะเป็นประโยคความเดียว ประโยคความซ้อน ประโยคความรวม หรือประโยคความผสม
เป็นต้น ซึ่งประโยคแต่ละประเภทสามารถแยกย่อยได้อีก เช่น ประโยคความซ้อน คือ
ประโยคที่มีประโยคหลักเพียงประโยคเดียวและมีอนุประโยคตั้งแต่ 1 ประโยคขึ้นไปโดยจะเชื่อมด้วยคำสันธาน ประโยคความซ้อนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3
ชนิดคือ Noun Clause, Adjective Clause และ Adverb
Clause โดยแต่ละอนุประโยคจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป
ในสัปดาห์นี้ดิฉันได้เรียนรู้เรื่อง “Noun Clause” ซึ่ง Noun Clause (นามานุประโยค) คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคำนามตัวหนึ่ง คือสามารถใช้เป็นประธาน เป็นกรรม เป็นส่วนสมบูรณ์ หรือเป็นนามซ้อนก็ได้ เช่น I think that you’re very pretty., I hope that you pass the exam. ซึ่ง Noun clauses เหล่านี้ เมื่ออยู่ในตำแหน่งของประธานจะเรียกว่า "Subject noun clauses" เช่น That scores are going down is clear. และเมื่ออยู่ในตำแหน่งของกรรม จะเรียกว่า "Object noun clauses" เช่น I don’t know where she is.
Noun
Clause แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่หนึ่ง คือ Noun
Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย "Wh-Words" (หรือ Question Words) ซึ่งได้แก่ what,
where, when, why, which, who whom, whose, how ประเภทที่สอง คือ Noun
Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "if" หรือ
"whether" และประเภทที่สาม คือ Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "that"
จากประเภทของ Noun Clause ข้างต้น ดิฉันขออธิบายเพิ่มเติม คือ ประการแรก Noun
Clause ที่เชื่อมด้วย Question Words เช่น I
couldn’t hear what she
said. , I
don’t know where he
lives. ,
What she said is not important to me. , I don’t know which one my sister like. , Why she is smiling surprises me. , I wonder whose house that is. , I don’t know who he is.
จากตัวอย่างประโยคที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น Noun Clause
จะทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา (object) และเป็นประธานของประโยค
(subject) และ Noun Clause
ที่เชื่อมด้วย Question Words
นี้จะต้องเรียงให้อยู่ในรูปประโยคบอกเล่า คือ ประธาน (subject) จะอยู่หน้าหรือก่อนกริยา (verb) ยกเว้น who ที่ประโยคบอกเล่าและประโยคคำถามเรียงเหมือนกัน (ประธานตามด้วยกริยา)
ประการที่สอง Noun Clause ที่เชื่อมด้วย whether, if สำหรับ whether หรือ if จะนำมาใช้เมื่อเปลี่ยนจากคำถามที่ตอบ
yes หรือ no (yes/no question) มาเป็น Noun
Clause เท่านั้น whether หรือ if แปลว่า “ว่า...หรือไม่” เช่น Will
he come? ตอบว่า I don’t know whether he will come. , I don’t know if he will come. , Whether he comes or not is not important to me. Whether
จะใช้เป็นทางการมากกว่า ส่วน If ใช้ได้ทั่วไปโดยเฉพาะในภาษาพูดและ
or not มักใช้กับภาษาพูดและภาษาที่ไม่เป็นทางการมากกว่า
และประการที่สาม Noun Clause ที่เชื่อมด้วย that
เช่น I think that she is a good singer. หรือ I think she is a good singer. , I know
(that) she is a good
girl. , That she doesn’t like English is a big problem. , That the world is round is a fact.
Noun
Clause จะทำหน้าที่เหมือนกับคำนามตัวหนึ่ง คือ เป็นประธาน เป็นกรรม
เป็นส่วนสมบูรณ์ เป็นนามซ้อน เป็นต้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ประการแรก ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาในประโยค
เช่น What she
said is
true., Where she lives is not far from here. ประการที่สอง
ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง (direct object) เช่น I know what you want., He said that he watched TV every day.
ประการที่สาม ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง (direct object)
ในประโยคที่มีกรรมรอง (indirect object) เป็นบุคคล เช่น I
cannot give you what I
need., She cannot lend you what you want. ประการที่สี่ ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง
(indirect object) เช่น You can give whoever you know the books., She cannot lend whoever is untrustworthy some money.
ประการที่ห้า ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา เช่น The problem is who will tell her the truth. ประการที่หก ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุพบท
เช่น The class laughed at what Prasert answering was the teacher. และประการที่เจ็ด ทำหน้าที่เป็นนามซ้อนนามหรือเป็นบทไข
(noun in apposition) เช่น The news that he will come to Thailand is true.
จากการศึกษา Noun Clause ทำให้ดิฉันสามารถเลือกใช้คำสันธานในการนำมาเชื่อมประโยคได้อย่างถูกต้อง
และสามารถเขียนประโยคที่มีทั้ง Question words, whether, if, that ทั้งที่เป็นประธานและเป็นกรรมได้
เมื่อได้ทำแบบฝึกหัดและใช้ในการสื่อสารอยู่บ่อยครั้งจะสามารถจดจำ Noun
Clause ได้อย่างแม่นยำและสามารถแยกแยะออกได้ว่าประโยคลักษณะใดที่เป็น
Noun Clause
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น