ครั้งที่ 9
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
ทักษะด้านการฟัง
การพูด การเขียน และการอ่าน เป็นทักษะพื้นฐานของทุกคนที่ควรจะต้องพัฒนา
เพื่อให้มีความสามารถในการสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ ได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งทักษะการฟังเป็นทักษะที่มีความสำคัญมาก การฟังจะต้องใช้สมาธิ
หลายคนไม่มีทักษะการฟัง ไม่เคยฟังผู้อื่นจึงมักเกิดปัญหา
ดังนั้นจำเป็นต้องฝึกฟังและฟังให้มีประสิทธิภาพเพื่อเกิดความเข้าใจต่อกัน ทักษะการพูด
ควรมีศิลปะในการพูด ถ่ายทอดและสื่อความให้ผู้อื่นเข้าใจ ทักษะการเขียนเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร
และทักษะการอ่านก็จำเป็นต้องฝึกเช่นกัน อ่านแล้วสรุปความได้
ฝึกฝนจนเป็นคนรักการอ่าน และที่สำคัญทักษะทั้ง 4 ด้านนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ดิฉันพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษได้
ทักษะแรก คือ
ทักษะการฟัง ดิฉันได้ฟังเพลง All Of Me ของ John Legend รู้สึกว่าเพลงมีความไพเราะ
เมื่อฟังแล้วรู้สึกประทับใจในความหมายของเพลง ซึ่งเนื้อหาของเพลง คือ ผู้ชายที่รักผู้หญิงคนหนึ่งมาก แต่เขาทำอะไรไม่ได้
ถ้าปราศจากคำพูดที่ชาญฉลาดของผู้หญิงคนนั้น เธอดึงดูดเขา แล้วก็ผลักไสให้เขาออกไป เขาไม่สามารถฉุดรั้งเธอไว้ได้
มันเกิดอะไรขึ้นกับจิตใจที่งดงามของเธอ แม้ว่าจะมีอะไรมากระแทกหัวเขา เขาก็ยังสบายดี หรือหัวของเขาอยู่ใต้ผิวน้ำ เขาก็ยังหายใจได้ เพราะทุกความรู้สึกของเขา
รักทุกอย่างที่เป็นเธอ รักรูปร่าง ส่วนเว้าส่วนโค้งทั้งหมดของเธอ ทุก ๆ
อย่างของเธอนั้นดูเหมาะสมเป็นที่สุด แม้ว่ามันจะไม่สมบูรณ์แบบ เขาขอร้องให้เธอมอบทั้งชีวิตของเธอให้กับเขา
แล้วเขาจะมอบทั้งชีวิตของเขาให้กับเธอเช่นกัน
เธอนั้นคือเส้นชัยและจุดเริ่มต้นใหม่ของเขา
แม้ว่าเขาจะเป็นฝ่ายแพ้ แต่เขากลับรู้สึกเหมือนเป็นผู้ชนะ นั่นก็เพราะว่าเขาได้มอบทั้งชีวิตให้กับเธอไปแล้วและเธอก็ได้มอบทั้งชีวิตของเธอให้กับเขา
เขาได้บอกผู้หญิงคนนั้นว่า แม้เธอจะร้องไห้เสียน้ำตา แต่เธอก็ยังคงสวยเช่นเดิม ถึงโลกใบนี้จะทำให้เธอท้อแท้ เขาก็จะอยู่เคียงข้างเธอในทุกสถานการณ์ เขาบอกว่าเธอนั้นเป็นทั้งความหายนะและเทพธิดาที่เป็นแรงบันดาลใจของเขา
รักของเราก็เปรียบเสมือนไพ่ที่วางอยู่บนโต๊ะ
เราสองคนต่างเปิดไพ่แสดงความรู้สึกในหัวใจ
ยอมเสี่ยงหมดทั้งหน้าตัก แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องยาก
ยอมเสี่ยงหมดทั้งหน้าตัก แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องยาก
จากเพลง All
Of Me ดิฉันได้เรียนรู้คำศัพท์ดังต่อไปนี้
คำแรก คือ spinning คำนี้ Part of Speech คือ Noun แปลว่า การปั่นด้าย , คำที่สอง คือ dizzy มี Part of Speech คือ Adjective มีความหมายว่า โง่, เวียนศีรษะ , คำที่สาม คือ edge คำนี้มี Part of Speech สองชนิดคือ Noun แปลว่า ขอบ และ Verb แปลว่า เขยิบ , คำที่สี่ คือ downfall Part of Speech คือ Noun แปลว่า ความหายนะ , คำที่ห้า คือ muse คำนี้มี Part of Speech คือ Verb แปลว่า คิดรำพึง, ตรึกตรอง, คำที่หก
คือ distraction Part of Speech ของศัพท์นี้ คือ Noun
แปลว่า สิ่งที่ทำให้ไขว้เขว และคำสุดท้าย คือ risk ศัพท์นี้มี Part of Speech สองชนิดคือ Noun แปลว่า ภัยอันตราย และ Verb แปลว่า เสี่ยงภัย
และเพลงที่สองที่ดิฉันฟังคือ
Out Of The Woods ของ Taylor
Swift ซึ่งความหมายของเพลงนั้นเป็นข้อคิดในเรื่องความรักได้ดี โดยมีเนื้อหาดังนี้ ดูเหมือนเรื่องทั้งหมดมันจะง่ายมาก เรานอนอยู่บนโซฟาของคุณ
ฉันจำได้ คุณถ่ายภาพพารารอยด์ของเราสองคน แล้วเราก็พบว่า ในโลกใบนี้มีแค่ขาวและดำ แต่เราอยู่ในโลกแห่งสีสัน
และฉันนั้นคิดว่า เราออกมาจากป่านั้นได้หรือยัง นี่เรากำลังอยู่ในที่ที่โล่งแล้วใช่ไหม
เราออกมาจากทางที่เราหลงในป่านั้นได้หรือยัง ทุก ๆ อย่างที่เราอยู่นั้นดีแล้วใช่ไหม ตอนนี้ในปลายเดือนธันวาคม เราแยกกัน
จากนั้นก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม ฉันยังสวมสร้อยคอของเธออยู่ คืนนั้นเราไม่สามารถลืมไปได้เลย
เมื่อเราตัดสินใจที่จะย้ายเฟอร์นิเจอร์ไปเพื่อจะเต้นรำ
นี่เป็นโอกาสของเรา
ฉันยังจำได้ตอนที่เธอบาดเจ็บที่โรงพยาบาล
เธอถูกเย็บไป 20 เข็มในตอนที่เธอเริ่มร้องไห้
ฉันเองก็เริ่มร้องไห้เหมือนกัน แต่ในตอนที่พระอาทิตย์ขึ้นมา ฉันก็มองไปที่คุณ ยังจำตอนที่เราไม่สามารถทนทานต่อความร้อนได้ ฉันก็เดินออกมา แล้วพูดว่า ฉันปล่อยให้เธอเป็นอิสระนะ แล้วปีศาจเหล่านั้นก็กลับกลายเป็นเพียงแค่ต้นไม้ เมื่อพระอาทิตย์โผล่พ้นขึ้นมา ตอนนี้เราออกมาจากความยุ่งยากนั้นได้หรือยัง นี่เราอยู่ในที่โล่งแล้วหรือยัง เราสามารถมองเห็นเรื่องราวได้ชัดเจนแล้วใช่ไหม (ฉันพอจำได้แล้ว) เราออกมาจากป่านั้นได้หรือยังนะ จากเนื้อเพลงข้างต้นเมื่อตีความแล้วทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความรักที่ต้องเจออุปสรรคมากมาย คนสองคนจะต้องผ่านพ้นไปด้วยกัน แต่หากมันเลวร้ายจนเกินไปเราก็ควรให้อิสระต่อกัน
ฉันเองก็เริ่มร้องไห้เหมือนกัน แต่ในตอนที่พระอาทิตย์ขึ้นมา ฉันก็มองไปที่คุณ ยังจำตอนที่เราไม่สามารถทนทานต่อความร้อนได้ ฉันก็เดินออกมา แล้วพูดว่า ฉันปล่อยให้เธอเป็นอิสระนะ แล้วปีศาจเหล่านั้นก็กลับกลายเป็นเพียงแค่ต้นไม้ เมื่อพระอาทิตย์โผล่พ้นขึ้นมา ตอนนี้เราออกมาจากความยุ่งยากนั้นได้หรือยัง นี่เราอยู่ในที่โล่งแล้วหรือยัง เราสามารถมองเห็นเรื่องราวได้ชัดเจนแล้วใช่ไหม (ฉันพอจำได้แล้ว) เราออกมาจากป่านั้นได้หรือยังนะ จากเนื้อเพลงข้างต้นเมื่อตีความแล้วทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความรักที่ต้องเจออุปสรรคมากมาย คนสองคนจะต้องผ่านพ้นไปด้วยกัน แต่หากมันเลวร้ายจนเกินไปเราก็ควรให้อิสระต่อกัน
จากเพลง
Out Of The Woods ดิฉันได้เรียนรู้คำศัพท์ดังต่อไปนี้ คำแรก คือ couch คำนี้มี Part of Speech สองชนิดคือ Noun มีความหมายว่า เก้าอี้ยาว และ Verb มีความหมายว่า
นอนลง , คำที่สอง คือ scream คำนี้มี Part
of Speech สองชนิดเช่นกันคือ Noun มีความหมายว่า
เสียงกรีดร้อง และ Verb มีความหมายว่า กรีดร้อง , คำที่สาม คือ apart คำนี้มี Part of Speech สองชนิดเช่นกันคือ Adjective มีความหมายว่า แยกจาก
และ Adverb มีความหมายว่า โดยไม่พิจารณา , คำที่สี่ คือ decided Part of Speech ของคำนี้ คือ Adjective
ซึ่งมีความหมายว่า เห็นชัด และคำที่ห้า
คือ stitch มี Part of Speech 2
ชนิดคือ Noun มีความหมายว่า รอยเย็บ และ Verb
มีความหมายว่า เย็บ
ทักษะต่อไปคือ
ทักษะการพูด ที่ดิฉันได้ศึกษาคำศัพท์จากหนังสือ “รู้ทันสันดานศัพท์” เพื่อนำความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ไปใช้ในการสนทนา
ซึ่งสิ่งที่ได้เรียนรู้มีดังนี้ เริ่มต้นด้วยการรู้จักส่วนของคำศัพท์
ซึ่งในที่นี้ดิฉันจะศึกษาเพียงส่วนแรกก่อน ซึ่งส่วนแรก คือ ใบหน้าคำศัพท์
ใบหน้านั้นคือส่วนที่อยู่ด้านหน้าของคำศัพท์
เป็นตัวที่ช่วยชี้บอกทิศทางของความหมาย บางตัวบอกแค่เป็นนัย ๆ
ว่าคำศัพท์นั้นน่าจะมีความหมายว่าอะไร
แต่บางตัวก็บอกความหมายให้ชัดเจนโดยไม่ต้องคาดเดา เนื่องจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษมีมากมาย
ใบหน้าของคำศัพท์จึงมีได้หลายใบหน้า
ใบหน้าแรกคือตัว un จากคำว่า unbelievable un เป็นใบหน้าคำศัพท์ที่มีประโยชน์มาก
เพราะแค่เพียงเติม un ไปที่ส่วนหน้าของคำศัพท์จำนวนมาก
คำศัพท์เหล่านั้นก็จะถูกปรับเปลี่ยนความหมายไปในทางตรงกันข้ามคล้ายกับการปฏิเสธ
เช่น คำว่า happy = มีความสุข เมื่อเติม un ไปข้างหน้าจะได้เป็น unhappy ความสุขที่มีนั้นก็สูญหายกลายเป็น
ไม่มีความสุขหรือเศร้าหมอง , คำว่า equal = เท่าเทียมกัน เมื่อเติม un
ไปข้างหน้ากลายเป็น unequal
ความหมายก็จะเปลี่ยนไปทันทีกลายเป็น ไม่เท่าเทียม และคำว่า clean มีความหมายว่า สะอาด เมื่อต้องการบอกว่า ไม่สะอาด ก็ให้เติม un ไปข้างหน้าจะได้เป็น unclean
คำต่อไปคือ คำว่า friendly แปลว่า มิตรภาพ
ซึ่งศัพท์ตัวนี้มีที่มาจากคำว่า friend แปลว่า
เพื่อนหรือมิตร หลังจากที่แปรรูปจาก friend มาเป็น friendly แล้ว เมื่อเติม un ไปข้างหน้าจะทำให้มิตรภาพที่ดีก็กลายเป็น
unfriendly คือ ที่ไม่มีมิตรภาพต่อกันและกัน และคำว่า
lucky มีความหมายว่า ที่โชคดี,
ที่มีโชค ตัวนี้มีที่มาจากคำว่า luck คือ โชค
พอเติมส่วนใบหน้าที่มีนัยในการปฏิเสธเข้าไปเป็น unlucky ก็จะทำให้ความหมายเปลี่ยนไปทันทีเป็น เคราะห์ร้าย ไม่มีโชค และคำว่า forgettable
แปลว่า ที่สามารถลืมได้ โดยมีที่มาจากคำศัพท์ว่า forget ที่แปลว่า ลืม จาก forgettable เมื่อเติม un ไปข้างหน้าจะได้ unforgettable หมายความว่า ที่ประทับอยู่ในใจไม่อาจลืมได้หรือลืมไม่ลง
คำศัพท์ที่ได้ยกตัวอย่างไปนี้เป็นคำคู่ตรงข้าม
หากรู้ความหมายของคำหนึ่งแล้วก็สามารถรู้ความหมายของอีกคำหนึ่งได้ เรียกว่า Antonym คือ
คำภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกคำตรงข้าม ( anto ก็คือ anti ที่มีความหมายว่า
ต่อต้านหรือเป็นปฏิปักษ์ ส่วน nym มีความหมายเดียวกันกับ name
ที่แปลว่า ชื่อ ดังนั้น antonym จึงหมายถึงชื่อหรือคำที่เราใช้เรียกสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์กันหรือตรงข้ามกัน
) ซึ่งสามารถสรุปคำที่มีใบหน้า un จากตัวอย่างข้างต้นได้
คือ unhappy ไม่มีความสุข, unequal ไม่เท่าเทียม, unclean ไม่สะอาด, unfriendly
ที่ไม่มีมิตรภาพต่อกันและกัน, unlucky เคราะห์ร้าย,
และ unforgettable ที่ประทับอยู่ในใจไม่อาจลืมได้หรือลืมไม่ลง
ใบหน้าที่สองคือ in อะไรไม่ถูกต้อง (incorrect) in เป็นอีกใบหน้าหนึ่งของคำศัพท์ที่ทำหน้าที่ปฏิเสธ ตัวอย่างเช่น คำแรก คือ correct
แปลว่า ถูกต้อง เมื่อเติม in ไปข้างหน้าจะได้คำว่า
incorrect คำนี้มีความหมายเป็นปฏิเสธตรงข้ามกันคือ
ไม่ถูกต้อง , คำที่สอง คือ firm แปลว่า
แข็งแรง เมื่อเติม in ไปข้างหน้าความหมายจะเปลี่ยนไปกลายเป็นคำว่า
infirm หมายถึง อ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง , คำที่สาม คือ complete มีความหมายว่า สมบูรณ์
เมื่อเปลี่ยนเป็น incomplete ความหมายจะกลายเป็นปฏิเสธตรงกันข้ามคือ
ไม่สมบูรณ์หรือไม่ครบถ้วน และคำที่สี่ คือ secure แปลว่า
มั่นคง ซึ่งคำตรงข้ามคือ insecure หมายถึง
ที่ไม่มั่นคง ที่หวั่นไหว
คำต่อไปคือ คำที่ห้า
คือ active แปลว่า ที่กระตือรือร้น
เมื่อเปลี่ยนเป็น inactive จะมีความหมายเป็นตรงข้ามว่า
ไม่มีความกระตือรือร้น, คำที่หก คือ formal มีความหมายว่า เป็นทางการ เมื่อเติม in ไปข้างหน้าก็จะสื่อความหมายเป็นตรงกันข้ามว่า
informal หมายความว่า ไม่เป็นทางการ, คำที่เจ็ด คือ expensive มีความหมายว่า แพง
เมื่อเติม in ข้างหน้าเพื่อกำหนดทิศทางของความหมายก็จะเกิดคำใหม่ขึ้นจะได้คำว่า
in expensive สามารถใช้พูดได้ในสถานการณ์ที่ไปซื้อสิ่งของราคาถูก
เพราะคำนี้มีความหมายว่า ไม่แพง และคำที่แปด คือ appropriate มีความหมายว่า เหมาะสม เมื่อเติม in ลงไปข้างหน้ากลายเป็น
inappropriate สิ่งที่เหมาะสมก็จะกลายเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม
นอกจากใบหน้า un และ in แล้วยังมีใบหน้าอีกมากมายที่สามารถนำมาเติมข้างหน้าได้
เช่น in เปลี่ยนรูปลักษณ์เป็น il, im, ir ซึ่งการเปลี่ยนรูปลักษณ์ตามเสียงแบบนี้ในภาษาอังกฤษเรียกว่า assimilation
แปลว่า การทำให้เหมือนหรือสอดคล้อง
เมื่อภาษาที่พูดกันถูกบันทึกเป็นภาษาเขียน
การเปลี่ยนหน้าตาจึงปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรให้เห็น
ในภาษาอังกฤษยังมีร่องรอยอยู่มาก
หากรู้ธรรมชาติข้อนี้ของภาษาจะช่วยทำให้เราเข้าใจความหมายรวมทั้งที่มาและสามารถจดจำคำศัพท์ได้อีกมากมายดังที่จะเห็นต่อไปนี้
ใบหน้า คือ il อะไรไม่มีเหตุผล (illogical) หากรู้ว่า logical แปลว่า มีเหตุผล
คำตรงข้ามก็สามารถรู้ได้คือการเติม il กลายเป็น illogical สื่อความหมายว่า ไม่มีเหตุผลรองรับหรือเป็นอะไรที่ไม่มีความสมเหตุสมผล
จากใบหน้า il สามารถยกตัวอย่างคำได้ดังต่อไปนี้
คำแรก คือ legal แปลว่า
ที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือเป็นไปตามกฎหมาย เมื่อเติม il ไปข้างหน้าเพื่อปฏิเสธจะได้คำใหม่เป็น
illegal มีความหมายแบบปฏิเสธเป็นตรงข้ามว่า
ที่ผิดกฎหมาย และคำที่สอง คือ literate แปลว่า (คน)ที่อ่านหนังสืออกเขียนหนังสือได้
เมื่อเติมส่วนหน้าเพื่อทำหน้าที่ปฏิเสธจะได้คำว่า illiterate มีความหมายเป็นตรงข้ามว่า ที่ไม่สามารถอ่านหนังสือออกเขียนหนังสือได้
คำศัพท์ทั้งสองคำนี้ที่มี il
เป็นใบหน้าถือเป็นคำศัพท์ที่ค่อนข้างยาก อาจจะค่อย ๆ จำ เพียงแค่รู้ว่าใบหน้า il
ที่เพิ่มเข้าไปนั้นทำให้ความหมายของศัพท์เดิมเปลี่ยนแปรไปเป็นตรงข้าม
ใบหน้าต่อมาคือ im อะไรเป็นไปไม่ได้ (impossible) หากรู้ว่าอะไรที่เป็นไปได้หรืออาจเกิดขึ้นได้นั้นใช้คำว่า possible
เพราะเมื่อใส่ im ไปข้างหน้าจะกลายเป็น impossible
มีความหมายว่า เป็นไปไม่ได้หรือมิอาจเกิดขึ้น
ตัวอย่างคำที่สามารถเติม im ข้างหน้าได้คือ คำแรก mortal
แปลว่า ที่ต้องตายหรือร้ายแรงถึงตาย เมื่อเติมส่วนหน้าว่า im
เพิ่มเข้าไปจะกลายเป็น immortal มีความหมายเป็นตรงข้ามว่า
ที่ไม่ตาย, คำที่สองคือ polite หมายถึง
สุภาพเรียบร้อย ส่วน impolite ใช้กับคนที่ไม่มีความสุภาพ
พูดจาหยาบคาย มารยาทไม่เหมาะสม , คำที่สามคือ perfect
ใช้บรรยายถึงสิ่งใดก็ตามที่สมบูรณ์แบบ ไม่มีที่ติ แต่ imperfect
หมายถึง สิ่งที่มีความผิดพลาด ขาดความสมบูรณ์ ไม่เพียบพร้อม
คำที่สี่ คือ pure หมายถึง บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไร้ราคี
แต่ impure แปลว่า มีราคี มีมลทิน ไม่ผ่องใส, คำที่ห้า คือ patient ถ้าใช้เป็นคำคุณศัพท์มีความหมายว่า
อดทน อดกลั้น เมื่อเติม im เพื่อทำให้เป็นการปฏิเสธจะได้ว่า impatient
มีความหมายว่า ไม่มีความอดทน ไม่อดกลั้น จะเห็นได้ว่า im มักใช้เติมหน้าคำศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยตัว M หรือ P
เพื่อทำให้ความหมายที่มีอยู่แต่เดิมเป็นตรงข้าม เหตุผลที่ใช้ตัว im
(แทนที่จะเป็นตัว in แบบดั้งเดิม) ก็เพราะมีความง่ายและเป็นธรรมชาติกว่าในการออกเสียงเวลาพูด
ภาษาของมนุษย์ทุก ๆ ชาติในโลกเป็นเช่นนี้
ความกลมกลืนของเสียงเป็นกฎธรรมชาติที่มีเหตุผลอยู่เบื้องหลัง
นี่คือสันดานหรือธรรมชาติของภาษา
และใบหน้า ir อะไรที่ไม่รับผิดชอบ (irresponsible)
เช่น คำแรก responsible แปลว่า
ที่รับผิดชอบตามหน้าที่ มีความรับผิดชอบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อเติม ir เข้าไปข้างหน้ากลายเป็น irresponsible มีความหมายในทางปฏิเสธว่า
ที่ไม่รับผิดชอบในหน้าที่ ศัพท์สองตัวนี้มีที่มาจาก response ซึ่งแปลว่า การตอบกลับหรือคำตอบ, สิ่งที่มีเหตุผลรองรับอยู่นั้นเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า
rational เมื่อเติม ir ไปข้างหน้าจะกลายเป็น
irrational มีความหมายเป็นปฏิเสธว่า
ไม่มีเหตุผลรองรับหรือไร้เหตุผล, คำที่สามคือ regular
แปลว่า เป็นไปตามระเบียบ เมื่อจะเปลี่ยนให้เป็นตรงข้ามก็ใส่ ir
ไปข้างหน้าก็จะได้ศัพท์ใหม่คือ irregular ซึ่งแปลว่า
ที่ไร้ระเบียบ ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์แบบแผน
คำที่สี่ คือ relevant แปลว่า ที่เกี่ยวข้องกัน
สัมพันธ์กัน เมื่อใส่ ir ไปกำหนดทิศทางของความหมาย
คำแปลก็จะกลับกลายเป็นตรงข้ามกันคือ irrelevant แปลว่า
ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน หรือไม่มีความสำคัญกับเรื่องนั้น ๆ แต่อย่างใด
และคำสุดท้ายคือ resistible แปลว่า ที่สามารถต้านทานได้
ศัพท์ตัวนี้ได้มาจากคำกริยาว่า resist คือ ขัดขืนหรือต่อต้าน
บวกกับ able ที่แปลว่า สามารถ เมื่อเติม ir ไปที่ข้างหน้าเพื่อทำให้เป็นปฏิเสธจะได้ irresistible จะมีความหมายว่า ที่มิอาจยับยั้งหรือต้านทานได้ เมื่อใช้ irresistible ไปขยายสิ่งใด สิ่งนั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่มิอาจต้านทานได้หรือมิอาจขัดขืน
อย่างเช่น irresistible charm มีความหมายว่า
เสน่ห์ที่มิอาจต้านทานได้
เพราะการเรียนรู้คำศัพท์ด้วยการท่องจำอย่างสะเปะสะปะนั้นเสียเวลามากเกินไป
ไม่มีประสิทธิภาพ เราจึงต้องใช้วิธีมองเข้าไปที่ความหมายของคำศัพท์จากรูปลักษณ์
การดูรูปลักษณ์ของคำศัพท์เราควรจะเริ่มที่ส่วนใบหน้าก่อนแล้วค่อยไปที่ส่วนหัวใจ
และจบที่บั้นท้ายหรือส่วนหลังเมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม
ซึ่งบทบาทแรกของใบหน้าจะทำหน้าที่ส่ายหรือปฏิเสธ
เมื่อใส่ส่วนนี้เข้าไปที่ส่วนหน้าของคำศัพท์ก็จะทำให้ความหมายของคำศัพท์นั้นกลับเป็นตรงข้ามกัน
ใบหน้าที่ทำให้ความหมายเป็นตรงข้ามหรือปฏิเสธจะมีรูปลักษณ์หน้าตาที่จำง่าย
ทักษะต่อไปคือ
ทักษะการเขียนและทักษะการอ่าน ดิฉันได้ศึกษาหลักไวยากรณ์เรื่อง “Nouns” และสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้มีดังนี้
Noun (คำนาม) คือ คำที่ใช้เรียกชื่อของบุคคล
สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ต่าง ๆ ทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง รวมทั้งคุณสมบัติ
อาการ ความรู้สึกนึกคิด เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันในการจำแยกแยกแยะคน สัตว์
และสิ่งของต่าง ๆ ออกจากกัน เช่น ชื่อคน : John, Anthony, Harry , สัตว์ : dog, pig, cat, panda, horse , สิ่งของ :
car, table, watch, house , สถานที่ : Bangkok, school,
airport, hospital และสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ความรู้สึก, ความคิด, อารมณ์, สภาวะ :
happiness, love, honesty, success
Noun (คำนาม)
ในภาษาอังกฤษบางชนิดมีเพศ (gender) ซึ่งแตกต่างจากภาษาไทย
ภาษาไทยเมื่อต้องการให้คำนามคำใดมีเพศก็ใส่คำบอกเพศลงไป เช่น คำว่า “เด็ก” ต้องการให้เป็นเพศหญิงก็ใส่คำว่า “หญิง” ลงไปเป็น เด็กหญิง
ต้องการให้เป็นเพศชายก็ใส่คำว่า “ชาย” ลงไปเป็น
เด็กชาย ส่วนในภาษาอังกฤษนั้นคำนามแต่ละคำมีเพศ เช่น girl (เด็กผู้หญิง),
boy (เด็กผู้ชาย) Gender ในภาษาอังกฤษมี 4 เพศ ได้แก่ เพศที่หนึ่งคือ Masculine
Gender (เพศชาย) เช่น boy, brother,
father, gentleman , เพศที่สองคือ Feminine Gender (เพศหญิง) เช่น girl, sister, mother, hen , เพศที่สามคือ Common Gender (เพศรวม) ได้แก่คำนามที่ไม่ระบุเพศ ใช้ได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง เช่น child,
friend, parent, student และเพศที่สี่คือ Neuter Gender คือ Noun ที่ไม่ปรากฏเพศ ไม่สามารถบอกเพศได้ ได้แก่
สิ่งของต่าง ๆ เช่น pen, tree, telephone
Noun (คำนาม)
สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดคือ ชนิดที่หนึ่ง
แบ่งตามลักษณะการใช้ , ชนิดที่สอง แบ่งตามรูปร่าง, ชนิดที่สาม แบ่งตามชนิด และชนิดที่สี่ แบ่งตามจำนวนนับ จากคำนามทั้ง 4
ชนิดข้างต้นดิฉันขอขยายความชนิดที่หนึ่งคือ แบ่งตามลักษณะการใช้
ซึ่งคำนามชนิดนี้สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
ประเภทที่หนึ่ง Common Noun (สามานยนามหรือนามทั่วไป)
คือ คำที่ใช้เรียกชื่อทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ
หรือสถานที่ทั่วไปโดยไม่เจาะจงหรือกำหนดชื่อของสิ่งนั้น ๆ ลงไป เช่น boy,
girl, son, fish, spider, pillow, bed, sea, mountain ,
ประเภทที่สอง Proper Noun (วิสามานยนามหรือนามเฉพาะ) เป็นนามที่ถูกกำหนดให้เป็นชื่อคน, นามสกุล, ตำแหน่ง, สัตว์, สิ่งของ
ที่พูดถึง ทำให้รู้ว่าหมายถึงสิ่งที่มีชื่อนั้น เช่น Mark, Ladda, Moji,
Simba, Toyota, Thailand
ความพิเศษของ Proper Noun (วิสามานยนามหรือนามเฉพาะ) คือ
จะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรใหญ่เสมอ โดยปกติแล้วจะไม่มีคำนำหน้านาม (Article)
เช่น Sam Smith, David Beckham, Barak Obama, Britney Spears
ตัวอย่างประโยคเช่น London is the capital of England. ,
Suchai is a good student., Mr. Tarin is my father., Krungsri Bank is on
Charuen-krung Road. ยกเว้นกับคำบางคำที่อยู่ในรูปพหูพจน์ เช่น The
Adams (ครอบครัวอดัม) หรือชื่อฤดูกาลต่าง ๆ
ถ้าจะถือว่าเป็น Common Noun ต้องเขียนด้วยอักษรตัวเล็ก
ถ้าถือว่าเป็น Proper Noun ก็ให้เขียนอักษรตัวใหญ่ เช่น Common
Noun : fall (autumn) และ Proper Noun : Fall (Autumn)
จากนั้นประเภทที่สามคือ
Collective Noun (สมุหนามหรือนามแสดงกลุ่ม)
เป็นคำนามที่แสดงความเป็นหมวดหมู่ของคน สัตว์ สิ่งของต่าง ๆ
โดยคำนามประเภทนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
รูปแบบที่หนึ่ง คือ Collective Noun + of + Common Noun เช่น
คำว่า flock ตัวอย่างการนำไปใช้ : A
flock of sheep , คำว่า bunch ตัวอย่างการนำไปใช้ : A bunch of flowers , คำว่า cluster ตัวอย่างการนำไปใช้ : A cluster of stars , group ตัวอย่างการนำไปใช้
: A group of student เป็นต้น และรูปแบบที่สอง
คือ คำนามคำเดียวซึ่งมีความหมายของหมู่คณะแฝงอยู่ เช่น an army of soldier,
an orchestra, a band of musicians, a crowd of people, a band, a gang เป็นต้น
เมื่อประธานเป็นสมุหนาม
กริยาจะอยู่ในรูปเอกพจน์หรือพหูพจน์นั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้พูดต้องการสื่อความหมายของสมุหนามที่ว่าเป็นกลุ่มก้อนหนึ่งหรือสื่อถึงรายย่อย
ๆ ในกลุ่มนั้นด้วย ถ้าผู้พูดต้องการสื่อถึงกลุ่มหนึ่ง ฝูงหนึ่ง
ในภาพรวมก็ให้กริยาอยู่ในรูปเอกพจน์ แต่ถ้าผู้พูดต้องการสื่อถึงรายย่อย ๆ ในกลุ่ม
คือต้องการเน้นรายตัวหรือรายบุคคล กริยาต้องอยู่ในรูปพหูพจน์ เช่น A herd of goat is licking the water from the stream. ประโยคนี้ผู้พูดต้องการสื่อถึงฝูงแพะฝูงหนึ่ง,
A herd of goat are licking the water from the stream. ประโยคนี้ผู้พูดต้องการสื่อถึงแพะแต่ละตัวในฝูงที่ต่างกำลังกินน้ำที่ลำธาร
และประเภทที่สี่ คือ
Abstract Noun (อาการนามหรือนามธรรม)
คำนามที่เป็นนามไม่มีรูปร่าง สัมผัสไม่ได้ ที่ใช้บอกสภาวะหรืออาการ
ซึ่งหากแปลเป็นภาษาไทยมักจะมีคำว่า “การ” หรือ “ความ” นำหน้า เช่น exercise,
death, honesty, knowledge ตัวอย่างประโยคเช่นคำที่เป็นกลุ่มความคิด
ความรู้สึก คือ Prevention is better than cure., กลุ่มคุณสมบัติ คุณลักษณะ คือ Beauty is wanted by everyone. สำหรับอาการนามอาจจะมีที่มาจากคำชนิดต่าง ๆ ดังนี้ ชนิดที่หนึ่ง
มาจากคำกริยา (Verb) เช่น arrive (v.) = arrival
(Abstract Noun) , ชนิดที่สอง มาจากคำคุณศัพท์ (Adjective) เช่น able (adj.) = ability (Abstract Noun) และชนิดที่สาม
มาจากคำนามทั่วไป (Common Noun) เช่น child (Common
Noun) = childhood (Abstract Noun)
คำนามชนิดที่สอง
แบ่งตามรูปร่าง จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ Concrete Noun (รูปนาม) และ Abstract Noun (อรูปนาม) ซึ่ง
Concrete Noun หรือรูปนาม เป็นนามที่มีตัวตน (รูปธรรม) สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง
5 มีทั้งนามนับได้และนามนับไม่ได้ เช่น fish, wood, book,
water, man, pencil, table เป็นต้น และ Abstract Noun หรืออรูปนาม เป็นนามที่ไม่มีตัวตน
(นามธรรม) สัมผัสไม่ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง
5 แต่จะใช้บอกลักษณะ สภาวะหรืออาการ เช่น strength,
sorrow, sadness, happiness, success เป็นต้น
คำนามชนิดที่สาม
แบ่งตามชนิด สามารถแบ่งคำนามตามลักษณะรูปร่างได้ 2 ชนิด คือ Countable Noun (นามนับได้)
กับ Uncountable Noun (นามนับไม่ได้) ซึ่ง Countable Noun หรือคำนามนับได้
ได้แก่คำนามที่สามารถแยกนับเป็นจำนวน หนึ่ง สอง สาม... ออกมาได้อย่างชัดเจน เช่น one
man, two dogs เป็นต้น คำนามบางชนิดที่ไม่มีรูป
แต่ถูกแบ่งไว้ให้สามารถนับได้ คือ คำนามที่เกี่ยวกับวัน เดือน ปี และเวลา เช่น three
hours, two days, one week โดยมีหลักสังเกตนามนับได้ ดังนี้
สามารถแยกนับเป็นจำนวน หนึ่ง สอง สาม ...
ได้ไม่ว่าจะมีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างก็ตาม
ถ้าอยู่ในรูปเอกพจน์ต้องนำหน้าด้วยคำนำหน้านาม (Determiner) คำใดคำหนึ่ง
เช่น a tree แต่ถ้าอยู่ในรูปพหูพจน์อาจนำหน้าด้วยคำนำหน้านาม
(Article) หรือไม่ก็ได้ เช่น six cows
และ Uncountable Noun หรือคำนามนับไม่ได้ เป็นคำนามที่ไม่สามารถแยกนับเป็นหนึ่ง
สอง สาม ... ได้ เพราะไม่มีตัวตนหรือมีตัวตนแต่ไม่สามารถแยกนับได้
หรือไม่นิยมนับกัน (เนื่องจากมีจำนวนมากเกินไป) โดยมีหลักสังเกต ดังนี้ เป็นนามที่ไม่มีตัวตนหรือรูปร่าง เช่น happiness,
movement, silence หรือมีตัวตน แต่ไม่สามารถแยกนับได้ เช่น air,
tea, snow หรือมีตัวตนแต่มีจำนวนมากไม่นิยมแยกนับ เช่น rice,
sugar, salt นามนับไม่ได้ถือว่าเป็นพหูพจน์
ดังนั้นเมื่อใช้เป็นประธานของประโยค กริยาที่ตามหลังจึงต้องอยู่ในรูปเอกพจน์ด้วย
มีคำนามบางประเภทที่สามารถเป็นไปได้ทั้งนามนับได้หรือนามนับไม่ได้
แต่มีความหมายไม่เหมือนกัน
ซึ่งจะเป็นคำนามชนิดใดสามารถดูได้จากความของคำที่ประกอบในประโยคนั้น ๆ เช่น
นามนับได้ : a glass กับนามนับไม่ได้
: glass, นามนับได้ : a hair กับนามนับไม่ได้
: hair, นามนับได้ : an iron กับนามนับไม่ได้
: iron, นามนับได้ : a light กับนามนับไม่ได้
: light, นามนับได้ : a noise กับนามนับไม่ได้
: noise, นามนับได้ : a paper กับนามนับไม่ได้
: paper, นามนับได้ : a room กับนามนับไม่ได้
: room, นามนับได้ : a wood กับนามนับไม่ได้
: wood เป็นต้น
ตามปกติคำนามนับไม่ได้จะไม่สามารถนับออกเป็นจำนวนได้
ถ้าต้องการทราบก็อาจแสดงให้เห็นคร่าว ๆ อยู่ในรูปของจำนวนว่า “มาก” หรือ “น้อย” เท่านั้น เช่น much money, little
water ถ้าต้องการนับคำนามนับไม่ได้เหล่านี้ต้องเอาภาชนะมาตวง
บรรจุใส่ หรือทำเป็นรูปร่างแยกออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน เช่น a sack of sugar,
three lumps of sugar, five sacks of sand เป็นต้น
แต่มีคำนามนับไม่ได้บางคำที่ไม่สามารถเปลี่ยนให้เป็นคำนามนับได้ด้วยการนำภาชนะมาตวงใส่ได้
ถ้าต้องการใช้เป็นคำนามนับได้จะต้องหาคำอื่นที่มีความหมายเหมือนกันมาแทน เช่น
นามนับไม่ได้ : machinery กับนามนับได้ (คำแทน) : a machinery, นามนับไม่ได้
: money กับนามนับได้ (คำแทน) : a note เป็นต้น
และคำนามชนิดสุดท้าย
แบ่งตามจำนวนนับ คือ การแบ่งคำนามตามจำนวนนับเป็นการแสดงว่าคำนามดังกล่าวมีจำนวนเพียง
1 หรือมากกว่า 1 ที่เรียกว่า “พจน์” (Number of Noun) มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่หนึ่ง : Singular
Number (เอกพจน์) หมายถึง คำนามที่ใช้แทนคน
สัตว์ สิ่งของ หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่มีเพียง 1 เดียวเท่านั้น
เช่น a student, a cat, a table, a city และชนิดที่สอง :
Plural Number (พหูพจน์) หมายถึง
คำนามที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานที่ที่มากกว่า 1 ขึ้นไป
เช่น two students, three cats, four tables, six city เป็นต้น
คำนามสามารถทำหน้าที่ได้หลากหลายนอกเหนือจากการเป็นประธาน
และกรรมของประโยค คำนามยังสามารถทำหน้าที่อื่น ๆ ในประโยคได้อีก เช่น
ส่วนขยายของกรรม หรืออาจเป็นคุณศัพท์ขยายนามก็ได้ เป็นต้น ประการแรก คือ หน้าที่เป็นประธาน
เช่น Robert is a business man., This dog belongs to
him. เป็นประธานของกลุ่มคำหรือวลี ทำหน้าที่ขยายประโยคหลัก
โดยที่ประธานของกลุ่มคำกับประธานของประโยคหลักนั้นต้องไม่ใช่คนเดียวกันหรือสิ่งเดียวกันและสามารถเป็นสรรพนามได้
เช่น The meeting being over everyone went home. , ประการที่สอง
คือ ทำหน้าที่เป็นกรรม ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา เช่น John loves
Sophia. อาจเป็นกรรมของบุพบท เช่น I write to my
father. หรืออาจเป็นกรรมที่มีความหมายเดียวกับกริยาข้างหน้า เช่น Sandra
smiles a sweet smile.
ประการที่สาม คือ
ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม อาจเป็นส่วนเติมเต็มของประธาน (Subjective Complement) มักใช้กับ verb
to be เช่น I am a doctor. อาจเป็นส่วนเติมเต็มของกรรม
(Objective Complement) มักใช้คู่กับ verb to be เช่นกัน เช่น She names her dog Momo. , ประการที่สี่
คือ ทำหน้าที่เป็นนามซ้อน โดยจะใส่เครื่องหมาย (,) comma คั่นระหว่างข้างหน้ากับนามที่ไปซ้อนไว้ด้วย
เป็นหน้าที่ซ้อนนามของประธานของประโยค เช่น Tom, the best student in his
school, my uncle got a great job. ประโยคดังกล่าวมีประธานที่เป็นคำนาม
2 คำซ้อนอยู่คือ Tom และ the
best student in his school โดยมีเครื่องหมาย (,) คั่นกลางไว้ คำว่า uncle เป็นคำนามที่นำมาซ้อนคำนามข้างหน้า
ช่วยให้ทราบรายละเอียดมากยิ่งขึ้น
ประการที่ห้า คือ
ทำหน้าที่เป็นนามเรียกชื่อ ได้แก่ ชื่อเฉพาะที่ใช้เรียก เช่น Nina, please open the window., ประการที่หก
คือ ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของ โดยจะต้องใช้เครื่องหมาย (‘s) เพื่อเชื่อมคำนามทั้งสองเข้าด้วยกัน เช่น The Jinny’s house is not
beautiful. และประการที่เจ็ด คือ ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ประกอบคำนาม
โดยการวางคำนามประเภทนี้ไว้ข้างหน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น The
volleyball match was so exciting yesterday. Volleyball ในประโยคข้างต้นทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ขยายคำนาม
คือ match ทำให้ทราบรายละเอียดมากยิ่งขึ้นว่าการแข่งขันนี้คือการแข่งขันวอลเลย์บอล
จากสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้จากการฟังเพลง
ศึกษาคำศัพท์จากหนังสือ “ รู้ทันสันดานศัพท์”
และการศึกษาหลักไวยากรณ์เรื่อง “Nouns” เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง
พูด อ่าน และเขียน ทำให้ดิฉันสามารถฟังเพลงแล้วเข้าใจมากขึ้น
ฟังคำศัพท์ในเพลงชัดเจนขึ้นจากเมื่อก่อน
และแปลความหมายของเนื้อเพลงได้สละสลวยมากขึ้น รู้วิธีการเดาคำศัพท์จากใบหน้าของศัพท์แต่ละคำและการมองให้ลึกไปในคำหลักและความหมาย
สามารถออกเสียงคำศัพท์ได้ถูกต้องมากขึ้น
และเข้าใจเรื่องคำนามชัดเจนยิ่งขึ้นและฝึกให้มีความแม่นยำในการใช้มากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น