Learning
Log
ครั้งที่
3
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
การแปลประโยคควรเริ่มจากประโยคสั้น ๆ
เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการแปลอย่างง่ายและแปลได้ตรงตามความหมายของต้นฉบับ และอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการแปล
คือ พื้นฐานทางไวยากรณ์ของนักแปล
ซึ่งพื้นฐานทางไวยากรณ์นั้นจะมีอิทธิพลอย่างมากในการแปล โดยเฉพาะกาลหรือ Tense เพราะรูปกริยาของแต่ละกาลนั้นสามารถบ่งบอกได้ว่า เหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นแล้วหรือยัง
หรือกำลังเกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งหากเราเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของ Tense
ในแต่ละ Tense อย่างแท้จริงแล้ว เราก็จะสามารถแปลประโยคออกมาได้อย่างง่ายดาย
และทำให้งานแปลมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และมีความหมายสมบูรณ์ นั่นคือสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้ในห้องเรียน
Tense หรือกาล คือ รูปแบบของกริยาที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับเวลาหรือเงื่อนไขอื่นๆ เพื่อบอกให้รู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นหรือยัง หรือกำลังเกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น She goes to school every day. (เหตุเกิดในปัจจุบัน) She went to school yesterday. (เหตุเกิดในอดีต) She will go to school tomorrow. (เหตุจะเกิดในอนาคต) จะเห็นได้ว่าประโยคเหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในช่วงเวลาที่เป็นปัจจุบัน อดีต และอนาคต โดยสิ่งที่เปลี่ยนรูปไปคือ คำกริยา (Verb) และคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) ซึ่งทำให้ทราบว่าเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นเมื่อเวลาใด ดังนั้น Tense และ Time จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน โดยกาล (Tense) สามารถแบ่งได้เป็น 3 กาล คือ Present Tense (ปัจจุบันกาล), Past Tense (อดีตกาล) และ Future Tense (อนาคตกาล)
จากกาล (Tense) ทั้ง 3 ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในแต่ละกาลยังสามารถแบ่งแยกออกเป็นกาลย่อยๆ ได้อีกกาลละ 4 กาล ได้แก่ กาลแรก คือ Present Tenses สามารถแบ่งได้เป็น Present Simple Tense, Present Continuous Tense, Present Perfect Tense และ Present Perfect Continuous Tense กาลที่สอง คือ Past Tenses สามารถแบ่งได้เป็น Past Simple Tense, Past Continuous Tense, Past Perfect Tense และ Past Perfect Continuous Tense และกาลที่สาม คือ Future Tense สามารถแบ่งได้เป็น Future Simple Tense, Future Continuous Tense, Future Perfect Tense และ Future Perfect Continuous Tense ซึ่งในแต่ละกาล (Tense) จะมีรูปแบบโครงสร้าง คำบ่งบอกเวลา และการใช้ที่แตกต่างกัน
ในกาลแรก คือ Present Simple Tense
สามารถขยายความได้ดังนี้ Present Simple Tense
คือ Tense ที่เป็นปัจจุบันกาลและใช้รูปกริยาธรรมดาได้แก่
กริยาช่องที่ 1 ถ้าประธาน (Subject) เป็นเอกพจน์บุรุษที่
3 กริยาต้องเติม -s หรือ -es เสมอ ตามรูปแบบ ประธาน (Subject) + กริยาช่อง 1
(Verb 1) โดยประการแรก Present
Simple Tense จะใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริงทั่วๆ ไป เช่น The
earth moves round the sun. ประการที่สองใช้กับการกระทำที่กระทำเป็นประจำจนติดเป็นนิสัย
เช่น He gets up early every day. ซึ่งเหตุการณ์หรือการกระทำที่กระทำเป็นประจำนั้นมักจะมีคำกริยาวิเศษณ์แสดงความถี่
(Adverb of Frequency) อยู่ด้วย
ประการที่สามใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในขณะที่พูด เช่น She sleeps in
the bed. และประการสุดท้าย
ใช้กับสิ่งที่กำหนดแน่นอนว่าจะกระทำในอนาคต เช่น The plane arrives at
Suwannabhumi in the afternoon.
กาลที่สอง คือ Present Continuous
Tense สามารถขยายความได้ดังนี้ Present Continuous Tense คือ Tense
ที่แสดงว่ากำลังกระทำกริยานั้นๆ อยู่ ใช้รูปกริยาที่เติม –ing
โดยมี Verb to be เป็นกริยาช่วย
ตามรูปแบบดังนี้ ประธาน (Subject) + is/am/are + V.ing โดยประการแรก Present
Continuous Tense จะใช้กับการกระทำที่กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูด เช่น
He is walking now. และถ้าต้องการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น
ให้เติม just ลงหน้ากริยา –ing เช่น My father is just sleeping in the
bed. ประการที่สอง
ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำในขณะที่พูด เช่น He is working hard
this month. และประการสุดท้าย
ใช้กับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่งคาดว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นแน่นอน
เช่น She is coming here next week.
กาลที่สาม คือ Present Perfect
Tense สามารถขยายความได้ดังนี้ Present Perfect Tense คือ Tense ที่แสดงว่าได้กระทำเหตุการณ์นั้นมาแล้วตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ใช้รูปกริยาช่องที่ 3 มี Verb to have เป็นกริยาช่วย
ดังนี้ ประธาน (Subject) +
has/have + V.3 โดยประการแรก Present Perfect Tense จะใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และยังคงดำเนินต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
แม้ในขณะที่พูดถึงเหตุการณ์นั้นอยู่
ซึ่งมักจะมีคำแสดงความต่อเนื่องของเวลาให้เห็นปรากฏอยู่ ได้แก่ since for so
far เช่น I have lived in Bangkok since I was 18 years old.
ประการที่สอง ใช้กับเหตุการณ์ที่แสดงว่า เคยหรือไม่เคยทำ
นับตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมักจะมีคำเหล่านี้กำกับอยู่ด้วย ได้แก่ never
ever once เช่น Have you ever been to Tokyo? ประการที่สาม
ใช้กับเหตุการณ์ที่เพิ่งจบลงใหม่ๆ เช่น I have just come back from Japan. และประการสุดท้าย ใช้กับเหตุการณ์ที่จบลงไปแล้ว
แต่ผู้พูดยังรู้สึกถึงผลของเหตุการณ์นั้นอยู่ เช่น I have seen her before.
กาลที่สี่ คือ Present Perfect
Continuous Tense สามารถขยายความได้ดังนี้ Present Perfect
Continuous Tense คือ Tense ที่แสดงว่าได้กระทำเหตุการณ์นั้นมาแล้วตั้งแต่ในอดีตและดำเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ในลักษณะเป็นความต่อเนื่องของการกระทำ ตามรูปแบบดังนี้ ประธาน (Subject) +
has/have + been + V.ing โดยประการแรก Present Perfect
Continuous Tense จะใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและดำเนินต่อกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ในลักษณะที่มีความต่อเนื่องของการกระทำนั้น เช่น I’ve been studying
English since 2007. กาลที่ห้า คือ Past Simple Tense สามารถขยายความได้ดังนี้ Past Simple Tense คือ Tense
ที่แสดงว่าการกระทำนั้นได้เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้วในอดีต
ไม่มีการต่อเนื่องของการกระทำ รูปแบบคือ ประธาน (Subject) + V.2 เช่น She went to the movies last night. และมักจะใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นประจำในอดีต
แต่ปัจจุบันเลิกกระทำแล้ว เช่น Jane always went to school late last year.
กาลที่หก คือ Past Continuous Tense สามารถขยายความได้ดังนี้ Past Continuous Tense คือ Tense ที่แสดงว่าเหตุการณ์หรือการกระทำนั้นกำลังดำเนินอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
มีรูปแบบดังนี้ ประธาน (Subject) + was/were + V.ing ซึ่งโดยปกติ Tense นี้จะไม่ใช้กับประโยคที่มีเหตุการณ์เดียว
แต่จะใช้กับประโยคที่มีสองเหตุการณ์เกิดคู่กัน เช่น It was raining when I
came home. โดยประการแรก Past Continuous Tense
จะใช้ได้โดยลำพังเมื่อมีช่วงเวลาแสดงว่ากำลังเกิดเหตุการณ์อยู่ในประโยค เช่น At 8 o’clock yesterday he was having
breakfast. ประการที่สองใช้กับเหตุการณ์ 2 อย่าง
ซึ่งดำเนินอยู่พร้อมๆ กันในอดีตโดยมี while, as หรือ when
เป็นคำเชื่อม 2 เหตุการณ์นี้เข้าด้วยกัน เช่น While
he was working, his wife was sleeping. และประการสุดท้ายใช้คู่กับ Past
Simple Tense เพื่อแสดงว่ามีเหตุการณ์หนึ่งกำลังดำเนินอยู่ในอดีตแล้วมีอีกเหตุการณ์แทรกเข้ามา
โดยเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ใช้ Past Continuous Tense และอีกเหตุการณ์หนึ่งที่แทรกเข้ามาใช้
Past Simple Tense เช่น While I was sleeping last
night, it rained.
กาลที่เจ็ด คือ Past
Perfect Tense สามารถขยายความได้ดังนี้ Past Perfect Tense ใช้กับเหตุการณ์
2 อย่างที่เกิดขึ้นในอดีต
แต่เหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นและจบลงก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่ง
ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงก่อนจะใช้ Past Perfect Tense ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังใช้ Past Simple Tense เช่น When the alarm rang, he had already woken up. กาลที่แปด คือ Past Perfect Continuous Tense สามารถขยายความได้ดังนี้
Past Perfect Continuous Tense จะใช้ในลักษณะเดียวกับการใช้ Past
Perfect Tense คือ ใช้แสดงความต่อเนื่องของเหตุการณ์ในอดีต 2
อย่าง โดยมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่ง (เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนใช้ Past Perfect Continuous ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังใช้ Past Simple) เช่น We
had been waiting for half an hour before she came.
กาลที่เก้า คือ Future
Simple Tense สามารถขยายความได้ดังนี้ Future Simple Tense คือ Tense ที่แสดงว่าการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นในอนาคต
มีรูปแบบดังนี้ ประธาน (Subject) + will/shall + V.1 โดยจะใช้กับการกระทำหรือเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น
แต่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยมีคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) อยู่ด้วย
ได้แก่ tomorrow next month เช่น I will see you
tomorrow. กาลที่สิบ คือ Future Continuous Tense สามารถขยายความได้ดังนี้ Future Continuous Tense
คือ Tense ที่แสดงว่าเหตุการณ์บางอย่างกำลังจะดำเนินอยู่ ณ
เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต มีรูปแบบดังนี้ ประธาน (Subject) + will/shall + be
+ V.ing โดยประการแรกใช้เพื่อบอกว่า ณ
เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตจะมีเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นหรือดำเนินอยู่ เช่น At
this time tomorrow she will be staying in Haadyai. และประการที่สองใช้กับเหตุการณ์ในอนาคตที่ผู้พูดตัดสินใจว่าจะทำเช่นนั้น
เช่น I will be watching television all evening tomorrow.
กาลที่สิบเอ็ด คือ Future
Perfect Tense สามารถขยายความได้ดังนี้ Future Perfect Tense คือ Tense ที่แสดงว่าเมื่อถึงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต
การกระทำหรือเหตุการณ์หนึ่งจะสิ้นสุดหรือจบลง มีรูปแบบดังนี้ ประธาน (Subject)
+ will have/shall have + V.3 ประการแรก
ใช้เพื่อบอกว่าเมื่อถึงเวลาหนึ่งในอนาคต การกระทำนั้นจะต้องสิ้นสุดลงแน่นอน
ซึ่งมักจะมีคำบอกเวลาในอนาคตอยู่ด้วย เช่น They will have finished the
work by next Sunday. และประการที่สองจะใช้ในการคาดการณ์เมื่อถึงเวลานั้นเหตุการณ์อย่างหนึ่งคงจะจบลงไปแล้วก่อนที่อีกเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนใช้ Future Perfect เหตุที่เกิดภายหลังใช้
Present Simple เช่น He will have eaten the meal
when you arrive. และกาลสุดท้าย คือ Future Perfect
Continuous Tense สามารถขยายความได้ดังนี้ Future Perfect Continuous Tense เป็น Tense ที่แสดงความสมบูรณ์ในอนาคต เช่น By
next week I will have been working for two months.
จากกาลทั้ง 12
ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า ในแต่ละกาลมีรูปแบบโครงสร้าง
การใช้ในเหตุการณ์ต่างๆ และคำบ่งบอกเวลาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างดีในโครงสร้างของแต่ละ
Tense เพราะหากไม่เข้าใจว่ารูปกริยานั้นเป็น Tense ไหน ก็อาจจะส่งผลให้การแปลความหมายในประโยคผิดเพี้ยนได้ ดังนั้น
ควรเรียนรู้โครงสร้างของ Tense โดยการฝึกฝนจากการทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อความถูกต้องแม่นยำในการแปลความหมายของประโยคต่างๆ และไม่เพียงแค่ใช้ในการแปลเท่านั้น
โครงสร้างทางไวยากรณ์ยังเป็นพื้นฐานสำคัญในทักษะต่างๆ อีกด้วย เช่น
การพูดและการเขียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น