Learning
Log
ครั้งที่
3
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
คือ การฝึกอ่านและคิดวิเคราะห์ จากหนังสือ “ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล
จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (Understanding Language to Translate : from
theories to practice)” ซึ่งหัวข้อที่ดิฉันสนใจ คือ “โครงสร้างทางไวยากรณ์และโครงสร้างทางความหมาย” หัวข้อดังกล่าวมีความสำคัญต่อการแปลประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ
เพราะหากดิฉันเข้าใจโครงสร้างทางไวยากรณ์ก็จะส่งผลให้ดิฉันเข้าถึงโครงสร้างทางความหมายของภาษาต้นฉบับมากขึ้น
การแปลนั้นจะประกอบด้วยสองส่วนคือ
ส่วนรูปและส่วนความหมาย นั่นคือ กระบวนการแปลเกี่ยวข้องกับภาษาอย่างน้อยสองภาษา
และความหมายหรือสาร (message) เช่น
เมื่อเราต้องการบรรยายลักษณะของผลแอปเปิ้ลนั้น เราอาจทำได้โดยการพูดถึงสี รูปทรง
ส่วนประกอบต่าง ๆ เป็นต้น และในการบรรยายภาษาหนึ่ง ๆ นั้นอาจทำได้โดยการพูดถึงเสียง
ไวยากรณ์ และคำศัพท์ โดยที่ความหมายก็คือสารที่สื่อออกมาโดยใช้เสียง ไวยากรณ์
และคำศัพท์ ซึ่งก็คือรูปของภาษา
องค์ประกอบสำคัญของภาษามี 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ระบบเสียง (phonology) และระบบเขียน (writing system), ระบบไวยากรณ์ (grammar) ซึ่งก็คือ กลไกที่ใช้ในการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน และระบบความหมาย (semantic) โดยส่วนใหญ่แล้วการแบ่งองค์ประกอบของภาษาจะพูดถึงเพียงระบบเสียงเป็นสำคัญ เพราะเป็นรูปแบบการใช้ภาษาที่พัฒนาก่อน ต่อมาจึงเรียนรู้การเขียนโดยมีผู้สอน และระบบการเขียนก็มีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิต
ไวยากรณ์ คือ
กลไกในการนำคำต่าง ๆ
ในภาษามาจัดรวมเข้าด้วยกัน
เป็นตัวกลางในการเชื่อมความหมายกับคำพูดที่เปล่งออกมาหรือที่เขียนไว้
ความหมายของข้อความหนึ่ง ๆ ที่สื่อออกมาได้โดยผ่านภาษานั้น
จะต้องเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำโดยอาศัยเสียงหรือตัวอักษรต่าง ๆ ประกอบขึ้น
จากนั้นจะต้องจัดคำต่าง ๆไว้ด้วยกันตามกฎไวยากรณ์
เพื่อให้เป็นกลไกที่สามารถสื่อความหมายออกมาได้
โครงสร้างของภาษาที่แบ่งเป็นลำดับชั้นตามแนวคิดของทฤษฎี
Tagmemics
ซึ่งเป็นโครงสร้างของระบบไวยากรณ์ (grammatical structure) และ Longacre จัดให้เป็นโครงสร้างผิว (surface
structure) ซึ่งก็คือโครงสร้างของภาษาที่มีตัวตนที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาในภาษาเขียน
และได้ยินในภาษาพูด จัดเป็นโครงสร้างที่คุ้นเคยกันอยู่ การแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ
ก็จะใช้ชื่อที่คุ้นเคย เช่น คำ วลี ประโยค ย่อหน้า เป็นต้น
ส่วนโครงสร้างทางความหมายก็สามารถจัดแบ่งเป็นลำดับชั้นกันไปเป็นระดับได้ในแบบเดียวกัน
เรียกว่า “โครงสร้างในความคิด”
(notional structure) เพราะ “ความหมาย”
เป็นสิ่งที่อยู่ในความคิด ไม่ได้มีตัวตนที่มองเห็นหรือได้ยิน แม้จะจัดระดับเป็นลำดับชั้นได้ในแบบเดียวกัน
แต่ระดับต่าง ๆ ของโครงสร้างทางความหมายก็มีชื่อเรียกที่อาจจะไม่คุ้นเคยกันนัก
ในการแปลนั้น
ผู้แปลจะต้องศึกษาโครงสร้างพื้นผิวหรือโครงสร้างทางไวยากรณ์
เพื่อให้สามารถเข้าถึงโครงสร้างทางความหมายของภาษาต้นฉบับ
ไม่ว่าจะเป็นระดับมโนทัศน์หรือระดับประพจน์ เป็นต้น จากนั้นผู้แปลจะต้องถ่ายทอดความหมายโดยสื่อผ่านทางโครงสร้างพื้นผิวของภาษาฉบับแปล
และผู้แปลควรรู้ว่า
โครงสร้างทางไวยากรณ์และโครงสร้างทางความหมายนั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันแบบระดับต่อระดับอย่างตรงไปตรงมาเพียงแบบเดียว
แต่ยังสามารถมีความสัมพันธ์ไขว้กับอีกระดับหนึ่งได้เช่นกัน เรียกว่า
มีความสัมพันธ์กันได้หลากหลายลักษณะ (skewing)
ตัวอย่างเช่น I
heard John’s call. จัดเป็นโครงสร้างระดับประโยคในโครงสร้างพื้นผิวหรือโครงสร้างทางไวยากรณ์
แต่เมื่อดูในโครงสร้างทางความหมายหรือโครงสร้างทางความคิดแล้วปรากฏว่า
มีสิ่งที่เกิดขึ้นสองอย่างหรือมีสองประพจน์ คือ John is call. กับ I heard. หากสื่อความหมายที่เกิดขึ้นสองอย่าง
จะได้ประโยคสองประโยคที่เชื่อมเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในภาษาอังกฤษ
คือ John called and I heard.
ดังนั้น
การสื่อความหมายสิ่งที่เกิดขึ้นสองอย่าง หรือสองประพจน์นี้ด้วยประโยคเพียงประโยคเดียว
จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางไวยากรณ์กับโครงสร้างทางความหมาย
มีลักษณะที่ไม่ใช่หนึ่งต่อหนึ่ง หรือตรงไปตรงมา หากจะแปลประโยค I
heard John’s call. เป็นภาษาไทยโดยยึดตามโครงสร้างพื้นผิว
หรือโครงสร้างทางไวยากรณ์ โดยไม่ลงลึกถึงโครงสร้างทางความหมาย จะแปลได้ว่า
ฉันได้ยินการเรียกของจอห์น กับ ฉันได้ยินเสียงเรียกของจอห์น
ทั้งนี้จากการแปลคำว่า
call
ซึ่งเป็นคำนาม “การเรียก” หรือ “เสียงเรียก” ซึ่งก็เป็นคำนามเช่นกัน
คำแปลทั้งสองยังคงไม่เป็นธรรมชาติ แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไปถึงโครงสร้างทางความหมายว่า
มีสิ่งที่เกิดขึ้นสองอย่าง คือสองประพจน์ ดังนี้ จอห์นเรียก กับ ฉันได้ยิน
ซึ่งผู้แปลจะถ่ายทอดความหมายให้สื่อออกมาในโครงสร้างพื้นผิวหรือโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่ฟังแล้วเป็นธรรมชาติมากกว่าสองแบบแรกได้ว่า
ฉันได้ยินจอห์นเรียก
ดังนั้น
จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้แปลจะต้องเข้าใจถึงความสัมพันธ์ที่มีได้หลากหลายรูปแบบระหว่างโครงสร้างทางไวยากรณ์กับโครงสร้างทางความหมาย
เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความหมายในโครงสร้างพื้นผิวของภาษาฉบับแปลได้อย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และผู้แปลจะต้องเลือกโครงสร้างที่เหมาะสมเพื่อสื่อความหมายนั้น
ๆ ออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ
การเลือกโครงสร้างทางไวยากรณ์ในฉบับแปลที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับความสอดคล้องกับโครงสร้างทางไวยากรณ์อื่น
ๆ เช่นกัน ดังนั้นผู้แปลจะต้องปรับเปลี่ยนรูปภาษาให้สอดรับกันอย่างลงตัว เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความหมายจากต้นฉบับมาเป็นคำแปลที่มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุดในภาษาไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น