วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

Learning Log 4

Learning Log
ครั้งที่ 4
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน คือการหาความรู้เพิ่มเติม โดยฝึกการอ่านและการคิดวิเคราะห์ จากหนังสือ ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (Understanding Language to Translate : from theories to practice)” ซึ่งเนื้อหาในหนังสือจะเกี่ยวกับ ความรู้ทางทฤษฎีที่ใช้ได้กับการแปลและเสนอแนวทางในการปฏิบัติโดยใช้ทฤษฎีเป็นหลัก  ซึ่งเป็นการประมวลจากทฤษฎีภาษาศาสตร์ต่างๆ ของผู้เขียนที่เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับการแปล เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ตัวบทอย่างมีระบบและสามารถนำไปสังเคราะห์ใช้ในการตัดสินใจเมื่อต้องแก้ปัญหาในการแปล ตลอดจนเพื่อให้มีมุมมองที่หลากหลายในการแก้ปัญหา และสามารถถ่ายทอดความหมายจากการแปลออกมาเป็นรูปภาษาที่แตกต่างจากต้นฉบับ และยังคงความหมายเดิมของต้นฉบับ ซึ่งจะทำให้งานแปลมีลักษณะเป็นธรรมชาติ

Learning Log 3 นอกห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 3
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน
สิ่งที่ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน คือ การฝึกอ่านและคิดวิเคราะห์ จากหนังสือ ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษาเพื่อการแปล จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (Understanding Language to Translate : from theories to practice)” ซึ่งหัวข้อที่ดิฉันสนใจ คือ โครงสร้างทางไวยากรณ์และโครงสร้างทางความหมาย หัวข้อดังกล่าวมีความสำคัญต่อการแปลประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ เพราะหากดิฉันเข้าใจโครงสร้างทางไวยากรณ์ก็จะส่งผลให้ดิฉันเข้าถึงโครงสร้างทางความหมายของภาษาต้นฉบับมากขึ้น
การแปลนั้นจะประกอบด้วยสองส่วนคือ ส่วนรูปและส่วนความหมาย นั่นคือ กระบวนการแปลเกี่ยวข้องกับภาษาอย่างน้อยสองภาษา และความหมายหรือสาร (message) เช่น เมื่อเราต้องการบรรยายลักษณะของผลแอปเปิ้ลนั้น เราอาจทำได้โดยการพูดถึงสี รูปทรง ส่วนประกอบต่าง ๆ เป็นต้น และในการบรรยายภาษาหนึ่ง ๆ นั้นอาจทำได้โดยการพูดถึงเสียง ไวยากรณ์ และคำศัพท์ โดยที่ความหมายก็คือสารที่สื่อออกมาโดยใช้เสียง ไวยากรณ์ และคำศัพท์ ซึ่งก็คือรูปของภาษา

Learning Log 3 ในห้องเรียน

Learning Log
ครั้งที่ 3
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียน
การแปลประโยคควรเริ่มจากประโยคสั้น ๆ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการแปลอย่างง่ายและแปลได้ตรงตามความหมายของต้นฉบับ และอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการแปล คือ พื้นฐานทางไวยากรณ์ของนักแปล  ซึ่งพื้นฐานทางไวยากรณ์นั้นจะมีอิทธิพลอย่างมากในการแปล โดยเฉพาะกาลหรือ Tense เพราะรูปกริยาของแต่ละกาลนั้นสามารถบ่งบอกได้ว่า เหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นแล้วหรือยัง หรือกำลังเกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งหากเราเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของ Tense ในแต่ละ Tense อย่างแท้จริงแล้ว เราก็จะสามารถแปลประโยคออกมาได้อย่างง่ายดาย และทำให้งานแปลมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และมีความหมายสมบูรณ์  นั่นคือสิ่งที่ดิฉันได้เรียนรู้ในห้องเรียน